เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปี พ.ศ. 2563


รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์ รองศาสตราจารย์ ภก. ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://cdn.sanity.io/images/0vv8moc6/dr...00x667.png
อ่านแล้ว 8,361 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 19/07/2563
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้ในประเทศไทย มีผู้ป่วยตลอดทั้งปี แต่พบผู้ป่วยสูงสุดในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี และรองลงมาคือช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี อย่างไรก็ตามข้อมูลของระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย พ.ศ. 2563 ประจำสัปดาห์ที่ 24 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และกลุ่มอาการปอดบวมน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และสัดส่วนของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ลดต่ำลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์ที่ 12 (เดือน มีนาคม 2563) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และมาตรการการป้องกันของทางภาครัฐ ได้แก่ การรักษาระยะห่างทางสังคม การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น แต่เมื่อพิจารณาสายพันธุ์ที่ก่อโรคพบไวรัสไข้หวัดใหญ่ A/H1 2009 สูงที่สุด1 โดยพบเป็น A/Brisbane/02/2018 (ร้อยละ 100), A/South Australia/34/2019 (ร้อยละ 100) และ B/Washington/02/2019 (Victoria lineage) (ร้อยละ 100) ในขณะที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่แนะนำโดยกระทรวงสาธารณสุขแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ 3 สายพันธุ์สำหรับฉีดป้องกันเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คือ A/Brisbane/02/2018 (H1N1)pdm09-like virus, A/South Australia/34/2019 (H3N2)-like virus, B/Washington/02/2019-like (B/Victoria lineage) virus ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่สอดคล้องกับสายพันธุ์ที่พบในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม พ.ศ. 2563 อาจมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์หรือไม่ก็ได้ 
 
ภาพจาก : https://www.pharmaceutical-technology.com/wp-content/uploads/sites/10/2019/03/flu-vaccine.jpg 
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นั้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ฉีดฟรีให้แก่ประชาชน 7 กลุ่ม ได้แก่

  1. หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน
  2. เด็ก อายุ 6 เดือน – 2 ปี (เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนเต็ม จนถึงอายุ 2 ปี 11 เดือน 29 วัน)
  3. ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
  4. ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี
  5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
  7. โรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร4,5

โดยสรุป ในปี พ.ศ. 2563 ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 นี้ ประชาชนยังควรที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขแนะนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ 3 สายพันธุ์สำหรับฉีดป้องกันเริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ประเทศไทย พ.ศ. 2563 ประจำสัปดาห์ที่ 24. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1368620200710073912.pdf
  2. ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานผลการเฝ้าระวังเชื้อไข้หวัดใหญ่เฉพาะพื้นที่ของสำนักระบาดวิทยาฯ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก http://www.thainihnic.org/influenza/main.php?option=flulab.
  3. ศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ระหว่าง 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2563. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก http://www.thainihnic.org/influenza/main.php.
  4. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สปสช.ชวนชาว กทม. 7 กลุ่มเสี่ยงจองสิทธิ “ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี” ผ่านไลน์@ucbkk เริ่ม 1 พ.ค. นี้. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=Mjc1Mg==
  5. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนะกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่รีบรับวัคซีนป้องกันสับสนกับโควิด-19 ช่วงฤดูฝนนี้. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/frontend/NewsInformationDetail.aspx?newsid=Mjc2Nw==
  6. Minor DS, Wofford MR. Chapter 45. Headache disorders. In: DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey L. eds. Pharmacotherapy: a pathophysiologic approach, 9 edition. McGraw-Hill. [Cited 2020 July 7]. Available from: https://accesspharmacy.mhmedical.com/content.aspx?bookid=689§ionid=45310495.
  7. Mody I, Lambert JD, Heinemann U. Low extracellular magnesium induces epileptiform activity and spreading depression in rat hippocampal slices. J Neurophysiol. 1987;57(3):869-88.
  8. Weglicki WB, Phillips TM. Pathobiology of magnesium deficiency: a cytokine/neurogenic inflammation hypothesis. Am J Physiol. 1992;263(3 Pt 2):R734-7.
  9. Foster AC, Fagg GE. Neurobiology. Taking apart NMDA receptors. Nature. 1987;329(6138):395-6.
  10. Meller ST, Gebhart GF. Nitric oxide (NO) and nociceptive processing in the spinal cord. Pain. 1993;52(2):127-36.
  11. von Luckner A, Riederer F. Magnesium in migraine prophylaxis-Is there an evidence-based rationale? A systematic review. Headache. 2018;58(2):199-209.
  12. Sulli MM, Ezzo DC. Drug interactions with vitamins and minerals. US Pharm 2007;1:42-55.
  13. แมกนีเซียม. [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 10 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ผลของชาต่อแม่และเด็ก 2 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้