เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เพราะอากาศเปลี่ยนแปลง...อารมณ์จึงแปรปรวน (Seasonal Affective Disorder; SAD)


อาจารย์ ดร. ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://blogwillis-zippykid.netdna-ssl.c...rature.jpg
อ่านแล้ว 8,891 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 28/11/2561
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


          นอกจากสภาพแวดล้อมจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้แล้ว สุขภาพใจก็สามารถได้รับผลกระทบจากสิ่งรอบตัวได้เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นข้อดี และวิเศษที่สุดสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในบริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร คือ มีระยะเวลาช่วงกลางวันและกลางคืนที่ใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี ในบางประเทศอาจมีสภาพอากาศและแสงแดดที่แปรปรวน เช่น ระยะเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน รวมไปถึงบางช่วงเวลาที่มีเมฆฝนปกคลุมตลอดสัปดาห์ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่เรียกว่า ภาวะซึมเศร้าฤดูหนาว (winter depression, winter blues) ภาวะดังกล่าวพบได้น้อยในประเทศไทย อย่างไรก็ตามคนไทยที่อาศัยต่างแดน อาจได้รับผลกระทบและเกิดภาวะนี้ เนื่องจากไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน และระยะเวลาในการปรับตัวที่ไม่เพียงพอ เช่น นักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร (United Kingdom) เป็นต้น 
 
ภาพจาก : https://cdn.images.express.co.uk/img/dynamic/128/590x/El-Nino-616643.jpg 
          ดังนั้นผู้ที่วางแผนจะเดินทางและคิดพักอาศัยช่วงระยะเวลาหนึ่งในต่างประเทศที่มีช่วงระยะเวลากลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก หรือครึ้มฟ้าครึ้มฝนตลอดวัน ควรวางแผน ทำความเข้าใจ และสำรวจตัวเองหากรู้สึกถึงความผิดปกติ ดังต่อไปนี้ 
อาการ 
          โดยทั่วไปอาการที่พบเสมือนกับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า เพียงแต่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม อาการที่พบได้แก่

  • มีปัญหากับการนอน
  • มีปัญหากับการตั้งใจทำงาน
  • มีความผิดปกติด้านอารมณ์ เช่น วิตกกังวลเกินเหตุ ซึมเศร้า รู้สึกหมดกำลังในการทำงาน ความสนใจในสิ่งที่ชอบลดลง
  • ความอยากอาหารลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ
  • มีปัญหากับการเข้าสังคม
  • อาจมีปัญหาด้านสุขภาพโดยตรง เช่น อารมณ์และสมรรถภาพทางเพศลดลง

วิธีการป้องกันและการรักษา 
          สาเหตุของภาวะดังกล่าวยังไม่แน่นอน แต่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย (circadian phase shift) สารสื่อประสาท และอาจรวมไปถึงพันธุกรรม อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองเพื่อป้องกัน ได้แก่ จัดสรรเวลาสำหรับรับแสงแดดในช่วงกลางวันให้เพียงพอ ทำกิจกรรมกับเพื่อน หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ตนเองรู้สึกผ่อนคลายไม่สนใจแต่สภาพอากาศ รวมไปถึงการทำสมาธิ 
          หากรู้สึกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตนเอง หรือมีผู้บอกกล่าวว่าเราเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอาการด้านอารมณ์ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและปรึกษาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้อง ในส่วนของการรักษานั้น มีตั้งแต่การพูดคุยปรึกษา การปรับพฤติกรรม การใช้แสงในการบำบัด รวมไปถึงการใช้ยา ซึ่งเป็นยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ทั้งนี้วิธีการรักษานั้นขึ้นกับอาการที่แสดงออก 
          สุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากฝากไว้ หากมีปัญหาด้านสุขภาพหรือการใช้ยาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ยาสำหรับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรครับ” 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. About SAD | Mind, the mental health charity - help for mental health problems. (n.d.). Retrieved October 29, 2018, from https://www.mind.org.uk/information-support/types-of-mental-health-problems/seasonal-affective-disorder-sad/about-sad/#.W9btF2j7TAx
  2. Lam, R. W., & Levitan, R. D. (2000). Pathophysiology of seasonal affective disorder: A review. Journal of Psychiatry and Neuroscience, 25(5), 469–480. https://doi.org/10.1177/070674379504000806
  3. Partonen, T., & L?nnqvist, J. (1998). Seasonal affective disorder: A guide to diagnosis and management. CNS Drugs, 9(3), 203–212. https://doi.org/10.2165/00023210-199809030-00004
  4. Seasonal affective disorder (SAD) - NHS. (n.d.). Retrieved October 29, 2018, from https://www.nhs.uk/conditions/seasonal-affective-disorder-sad/
  5. Seasonal affective disorder | Mental Health Foundation. (n.d.). Retrieved October 29, 2018, from https://www.mentalhealth.org.uk/a-to-z/s/seasonal-affective-disorder-sad


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


แก้วมังกร 1 นาทีที่แล้ว
2 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้