Eng |
รองศาสตราจารย์ ดร. สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบันนี้ที่แผนกอายุรศาสตร์ของโรงพยาบาลต่าง ๆ มีผู้ป่วยเป็น “เกิร์ด”(GERD) หรือ โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease)จำนวนมาก ซึ่งหลายคนยังมีความสงสัยและไม่เข้าใจว่า โรคกรดไหลย้อนนั้น หมายถึงอะไร เกิดได้อย่างไร มีอันตรายต่อร่างกายมากน้อยเพียงใด และการดูแลรักษารวมทั้งการปฏิบัติตนควรทำอย่างไร บทความนี้เขียนเพื่อตอบคำถามต่าง ๆดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านรักษาตนให้หลุดพ้นความทุกข์ทรมานจากโรคกรดไหลย้อน
“เกิร์ด”หรือ โรคกรดไหลย้อน หมายถึงอะไร ?
โรคกรดไหลย้อน หมายถึง ภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการระคายบริเวณลำคอ และแสบอกหรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ รวมทั้งมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย คล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร และไปซื้อยาลดกรด (antacids) ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ตรงจุด จึงพบว่ามีผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยโรคกรดไหลย้อนเพิ่มสูงขึ้น
โรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจากอะไร?
ในภาวะปกติ ร่างกายมีกลไกการป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยการทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower esophageal sphincter, LES) ซึ่งหูรูดนี้จะคลายตัวขณะที่มีการกลืนอาหาร เพื่อให้อาหารผ่านลงสู่กระเพาะอาหาร และหดตัวปิดทันทีเพื่อไม่ให้อาหารและกรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร เมื่อประสิทธิภาพในการทำงานของกลไกการควบคุมนี้เสื่อมลงหรือบกพร่อง จึงเกิดโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจเกิดเป็นครั้งคราว เป็นพัก ๆ หรือเกิดตลอดเวลา
ส่วนสาเหตุที่ทำให้หูรูดดังกล่าวทำงานผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด โรคนี้พบได้บ่อยในบุคคลทุกเพศทุกวัย หูรูดอาจเสื่อมตามอายุ หูรูดยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็กทารก หรืออาจมีความผิดปกติที่เป็นมาแต่กำเนิด นอกจากนี้อาจพบในสตรีมีครรภ์ด้วยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายมีผลต่อการทำงานของหูรูดหลอดอาหาร
นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นเบตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ยาต้านคอลิเนอร์จิก ตลอดจนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นต้นจะมีผลกระตุ้นการคลายตัวของหูรูดหรือมีการหลั่งกรดมากขึ้น
อาการของโรคกรดไหลย้อน
การรักษาโรคกรดไหลย้อน ทำอย่างไร ?
(1) การรักษาที่สำคัญอยู่ที่ผู้ป่วยเอง คือควรปฏิบัติตน ดังนี้
-พฤติกรรมการบริโภค
-พฤติกรรมการดำเนินชีวิต
(2) การรักษาด้วยยา
กรณีที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย ควรรับประทานยาตามกำหนดอย่างเคร่งครัด และถ้ามีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
(3) การรักษาโดยการผ่าตัด
ในรายที่ใช้ยาไม่ได้ผลหรือมีภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมหูรูด
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน เป็นอย่างไร?
แม้ว่าโรคกรดไหลย้อน ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมาน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นกรณีที่ท่านมีอาการของโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคต่อไป โปรดให้ความสนใจเพราะถ้าละเลยไม่ยอมรักษา เมื่อเป็นเรื้อรัง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่
“เพื่อสุขภาพ ปรับพฤติกรรม ใช้ยาถูกต้อง ป้องกันโรคกรดไหลย้อน”
ขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง