เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor markers)


อาจารย์ ภญ. ลักขณา สุวรรณน้อย ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://previews.123rf.com/images/jarun0...-Photo.jpg
อ่านแล้ว 63,306 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 29/10/2560
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


เคยงงกันบ้างไหมคะ ในใบรายงานการตรวจสุขภาพประจำปีของบางท่าน ในบางครั้งจะเห็นค่า CEA, CA-125, PSA, AFP ในรายงานด้วย ค่าเหล่านี้คืออะไร มาหาคำตอบกันค่ะ 
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับแรกในคนไทย และยังมีแนวโน้มการเกิดโรคมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามะเร็งเป็นโรคที่ทุกคนหวาดกลัวและอยากหลีกหนีให้ไกลที่สุด ดังนั้นคงจะเป็นการดีไม่น้อย หากจะเรียนรู้วิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง หรืออย่างน้อยที่สุดคือการตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรกเพื่อการรักษาให้ได้อย่างทันท่วงที โดยในปัจจุบันนี้วิทยาการทางการแพทย์ทางการรักษาและตรวจคัดกรองมะเร็งมีความก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก นอกจากแพทย์จะตรวจร่างกาย การตรวจทางรังสีวินิจฉัยแล้ว ยังมีการตรวจเลือดเกี่ยวกับสารบ่งชี้มะเร็งร่วมด้วยเมื่อมีข้อบ่งชี้ 
 
ภาพจาก : https://quodata.de/sites/default/files/shutterstock_291767978.jpg 
สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor markers) คือสารที่หลั่งขึ้นจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อเซลล์มะเร็ง หรืออาจเป็นสารที่เซลล์มะเร็งหลั่งขึ้นมาเอง สารบ่งชี้เหล่านี้หลายชนิดเซลล์ในภาวะปกติ หรือการมีสาเหตุอื่นๆ มากระตุ้นก็สามารถหลั่งออกมาได้ แต่มักหลั่งในปริมาณที่ไม่สูงนัก โดยมะเร็งแต่ละชนิดและแต่ละระยะของโรคจะมีความจำเพาะกับสารบ่งชี้ที่แตกต่างกันออกไป ประโยชน์ของสารบ่งชี้มะเร็งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย คัดกรอง พยากรณ์โรคมะเร็ง หรือติดตามผลการรักษาและสืบค้นการกลับเป็นซ้ำจากโรคมะเร็งได้ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของสารบ่งชี้มะเร็งที่ตรวจในผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้สารบ่งชี้เหล่านี้มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมาได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับค่าเหล่านี้ค่ะ อย่าเพิ่งตกใจไปเสียก่อน 
 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Duffy MJ. Tumor markers in clinical practice: a review focusing on common solid cancers. Med Princ Pract. 2013;22(1):4-11.
  2. Febbo PG, Ladanyi M, Aldape KD, De Marzo AM, Hammond ME, Hayes DF, Iafrate AJ, Kelley RK, Marcucci G, Ogino S, Pao W, Sgroi DC, Birkeland ML. NCCN Task Force report: Evaluating the clinical utility of tumor markers in oncology. J Natl Compr Canc Netw. 2011 Nov;9 Suppl 5:S1-32
  3. National Cancer Institute. Tumor Markers. 2015. Found at: http://www.cancer.gov/about-cancer/diagnosis-staging/diagnosis/tumor-markers-fact-sheet.


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


สารบ่งชี้มะเร็ง (tumor markers) 1 วินาทีที่แล้ว
ขยะอาหาร (Food Waste) 1 ช.ม.ที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้