เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


จิบชายามบ่าย


ภญ. กฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://s.eatthis-cdn.com/media/images/ex...acking.jpg
อ่านแล้ว 15,783 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 01/09/2560
อ่านล่าสุด 3 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ชา เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจากน้ำเปล่า ปัจจุบันมีการนำชาไปใช้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งเครื่องดื่ม อาหาร ขนม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งของใช้ภายนอก ทำไมชาถึงได้รับความนิยมถึงขนาดนี้กันนะ... 
 
ภาพจาก : http://www.ndtv.com/cooks/images/teaandcitrus.jpg 
ชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis (L.) Kuntze อยู่ในวงศ์ THEACEAE ลักษณะทางพฤกษศาสตร์คือ เป็นไม้พุ่ม ใบติดเรียงสลับ ใบมีลักษณะหนาเหนียว รูปไข่ เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ดอกคล้ายดอกสารภีมีขนาดใหญ่ สีขาวและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกล่อง เมล็ดกลมและขนาดใหญ่ ในผลหนึ่งจะมีเมล็ด 1 - 3 เมล็ด สรรพคุณตามตำรายาไทยระบุว่า ใบ ช่วยให้หายเหนื่อย ไม่ง่วง ฝาดสมาน แก้ท้องร่วง แก้กระหาย สมานแผล บำรุงหัวใจ พอกแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก กิ่ง แก้หืด สมานแผล ในใบชามีสารสำคัญจำนวนมาก เช่น คาเฟอีน (caffeine) ธิโอฟิลลีน (theophylline) สารกลุ่มแคททีชิน (catechins) โดยเฉพาะสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate) เป็นต้น ปัจจุบันมีชาในท้องตลาดหลายชนิด เช่น ชาขาว ชาเขียว ชาเหลือง ชาดำ ชาอู่หลง ชาผู่เออร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนมาจากชาต้นเดียวกันนี่ล่ะ แต่เพราะกระบวนการผลิต สายพันธุ์ วิธีการเก็บ ระยะเวลาในการเก็บ รวมถึงแหล่งปลูก ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติต่างกัน แต่การจะเลือกซื้อชาอะไรมาบริโภคนั้นก็ขึ้นกับความชอบและรสนิยมส่วนตัว สิ่งสำคัญในการชงชาคือน้ำและอุณหภูมิที่ใช้ ซึ่งน้ำที่เหมาะสำหรับการชงชาก็คือน้ำที่ผ่านการกรองหรือน้ำสะอาด ส่วนอุณหภูมิของน้ำจะมีได้ตั้งแต่ 65oC ไปจนถึง 100oC ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของชา สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือระยะเวลาในการชงหรือการแช่ชาในน้ำร้อน ซึ่งแช่ได้ตั้งแต่ 1 นาทีไปจนถึง 6 นาที ซึ่งอุณหภูมิและระยะเวลาในการชงนี่เอง ที่มีผลต่อสารสำคัญที่จะออกมาจากใบชา และเพื่อให้ได้ชาที่รสชาติดี เราไม่ควรแช่ชาไว้ในน้ำนาน เพราะสารแทนนินในชาจะออกมาทำให้น้ำชามีรสขมและฝาด ดื่มแล้วอาจทำให้ท้องผูกได้ด้วย และหากต้องการให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการดื่มชา เราไม่ควรเติมนม น้ำตาลทราย หรือน้ำผึ้งลงในน้ำชา เพราะจะทำให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของชาลดลง 
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า ชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นให้ตื่นตัว ยับยั้งการเกิดเนื้องอกและมะเร็งหลายชนิด ต้านการอักเสบ แก้แพ้ ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการท้องเสีย ช่วยป้องกันฟันผุ ช่วยลดความอ้วน ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ช่วยต่อต้านการเกิดโรคของหลอดเลือดหัวใจ และมีส่วนช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้ จะเห็นได้ว่าการบริโภคชา นอกจากจะได้รับกลิ่นหอมและรสชาติอันเป็นที่ถูกอกถูกใจหลายๆ คนแล้ว ชายังมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยามากมายอีกด้วย ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมชาจึงได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ใช่ว่าการบริโภคชาจะมีแต่ผลดีเท่านั้น เพราะขณะนี้มีรายงานการวิจัยที่ระบุว่า การบริโภคชาในปริมาณสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานสามารถส่งผลเสียต่อตับและไตได้ การบริโภคชาในปริมาณมากจะทำให้ร่างกายได้รับสารคาเฟอีนมากตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับและทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และผู้ที่ต้องใช้ยา warfarin ควรหลีกเลี่ยงการดื่มชา เนื่องจากชาจะทำให้ฤทธิ์ของยาลดลง นอกจากนี้การดื่มชาในขณะที่ร้อนมากๆ (เกิน 70oC) จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้ ดังนั้นการดื่มชาที่ถูกต้องคือการดื่มในปริมาณที่เหมาะสม คือประมาณวันละไม่เกิน 3 ถ้วย โดยแต่ละครั้งให้ใช้ใบชาประมาณ 1 - 2 ช้อนชาชงในน้ำร้อน และควรดื่มในระหว่างมื้ออาหาร เนื่องจากมีบางรายงานที่ระบุว่าชามีผลยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กในอาหารเมื่อรับประทานพร้อมกันค่ะ 
 

  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 13 ฉบับที่ 4
  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 15 ฉบับที่ 1
  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 20 ฉบับที่ 3
  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 22 ฉบับที่ 1
  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 23 ฉบับที่ 2
  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 26 ฉบับที่ 1
  • จุลสารข้อมูลสมุนไพรปีที่ 27 ฉบับที่ 3

http://www.medplant.mahidol.ac.th/document/greentea.pdf
เอกสารงานประชุมวิชาการเรื่อง “มารู้จักชาสมุนไพรกันเถอะ

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Rozich JD, Resar RK, Medication Safety: one organization’s approach to the challenge. J Clin Outcomes Manage 2001: 8(10): 27-34.
  2. อภิฤดี เหมะจุฑา. 2559. การประสานรายการยา MEDICATION RECONCILIATION อีกหนึ่งมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในระบบยา. From: http://www.ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=174, Accessed July 17, 2017.
  3. บุศยา กุลบุศย์. 2555. ประสานรอยต่ อเพื่อเพิ่มความปลอดภัยด้วย Medication Reconciliation. From: http://110.78.163.74/keling/cqi/userfiles/files/download/national_forum13-2/National%20Forum_13Mar2012.pdf, Accessed July 17, 2017.
  4. ธิดา นิงสานนท์. 2551. Med reconciliation. From: http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ha/ hospital/ha/RG2008/ไฟล์การประชุม 20-24/24June/CM12/08.30-10.00/รศ.ภญ.ธิดา/MedicationReconciliation(3).pdf, Accessed July 17, 2017.

-->

เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


จิบชายามบ่าย 1 วินาทีที่แล้ว
หอมดอกปีบ 20 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้