เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


วัณโรคเทียม : ของแถมจากสปาปลา


รศ. ภญ. ม.ล สุมาลย์ สาระยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 36,932 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 11/03/2554
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

วัณโรคเทียม เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ผิวหนัง ไม่ติดต่อระหว่างคนต่อคนเหมือนกับวัณโรคปอด แต่ผู้ใช้ บริการสปาปลาอาจติดโรคนี้ได้หากผู้ใช้คนแรกเป็นโรคนี้ เชื้อโรคจะลงไปอยู่ในน้ำหรือเมื่อปลากัดกินเศษหนังบริเวณที่มีเชื้อโรค เชื้อก็จะมีโอกาสจะเข้าไปอยู่ในตัวปลาและกลายเป็นพาหะคล้ายยุง เมื่อปลาไปกัดผู้ใช้บริการรายอื่นหรือที่ผิวหนังมีแผล ก็มีโอกาสจะติดโรคนี้ได้ ปกติน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาจะไม่เปลี่ยนบ่อยเพราะเสี่ยงต่อการทำให้ปลาช็อค เชื้อโรคนี้จะทนต่อคลอรีน โดยปกติวัณโรคเทียม เป็นโรคติดเชื้อที่พบในสัตว์กีบพวกแพะและแกะแต่ติดต่อถึงคนได้ ( zoonosis ) อาการโรคในสัตว์คือ หลังจากได้รับเชื้อแล้ว 2 – 6 เดือน จะเกิดฝีที่ผิวหนังและอวัยวะภายใน ภายในก้อนฝีเป็นหนองสีเหลือง เขียวหรือขาว รอยโรคที่เกิดขึ้นมีผลต่อคุณภาพของเนื้อและหนังสัตว์ ในคนทำให้เกิดแผลบริเวณผิวหนัง ตุ่มหนอง เรื้อรังรักษาหายได้ยากและสิ้นเปลืองเงินทองในการรักษา
สาเหตุของวัณโรคเทียมเกิคจากเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium pseudotuberculosis มีคุณสมบัติเป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปร่างเป็นท่อนสั้น อาศัยอยู่ในเซลล์ monocyte และ macrophage เชื้อมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน และเชื้อในร่างกายไม่ถูกทำลายด้วย phagocyte ลักษณะของโรคที่พบจะเป็นแบบเรื้อรัง สัตว์ที่เป็นโรคจะเป็นพาหะของโรคไปตลอดชีวิต เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถทำลายเชื้อได้
เนื่องจากเชื้ออยู่ในก้อนฝีที่มีถุงหุ้มและยังอยู่ภายในเซลล์ จึงทำให้ยาปฎิชีวนะไม่สามารถเข้าถึงเชื้อได้ จึงไม่มีผลในการรักษา ในสัตว์จึงต้องรักษาด้วยการผ่าเอาถุงหนองออกให้หมดและเก็บไปทำลาย ในคนจะต้องใช้ยาปฎิชีวนะเช่น คลาริโทรมัยซิน ติดต่อกันเป็นเวลานานหรือใช้ร่วมกับยาปฎิชีวนะตัวอื่น วัณโรคเทียมจึงจัดเป็นเป็นโรคที่รักษายาก
นอกจากเชื้อวัณโรคเทียมแล้ว ผู้ใช้บริการสปาปลายังมีโอกาสที่จะเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากราและแบคทีเรียตัวอื่น ๆได้ จากการแช่เท้าอยู่ร่วมกันในอ่างปลา โดยมีน้ำเป็นตัวนำพา ผู้ที่ไม่ควรใช้บริการสปาปลา ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง มีบาดแผลหรือตุ่มหนอง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ


 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  • Lloyd, S: Caseous lymphadenitis in sheep and goats, In Practice, Jan 1994
  • Welsh, R D: Corynebacterium pseudotuberculosis in the Horse, Equine Practice, Vol 12, No 2, Feb 1990


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้