เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เอ็นไซม์ กับผักผลไม้สด


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://vignette1.wikia.nocookie.net/phob...1116022138
อ่านแล้ว 78,676 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 21/04/2560
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

การสร้างพลังงานจากสารอาหารในสิ่งมีชีวิต เรียกว่ากระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนสารที่ร่างกายได้รับจากอาหาร โดยย่อยสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ดูดซึมและเปลี่ยนเป็นพลังงานไปยังเซลล์ที่ต้องการ เพื่อการดำรงชีวิต ปฏิกิริยาเคมีนี้จะต้องมีเอนไซน์ (enzyme) เป็นตัวเร่ง เอนไซน์ในสิ่งมีชีวิตมีมากมายมากกว่าพันชนิด และมีความจำเพาะต่อแต่ละปฏิกริยา โดยเอ็นไซม์จะทำงานร่วมกับวิตามินและธาตุพบน้อยที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่เรียกว่า โคเอ็นไซม์ (coenzyme) นอกจากนี้เอ็นไซม์ยังทำหน้าที่ในการซ่อมแซม ควบคุม และกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายด้วย กล่าวได้ว่าทุกกลไกในสิ่งมีชีวิต(คน สัตว์และพืช) ล้วนต้องอาศัยการทำงานของเอนไซม์ทั้งสิ้น 
 
ภาพจาก : http://vignette1.wikia.nocookie.net/phobia/images/6/6e/
Fruit.jpg/revision/latest?cb=20161116022138 

ในภาวะปกติร่างกายของคน สามารถผลิตเอนไซม์ได้ เอ็นไซม์จะทำหน้าที่ย่อยสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง ดูดซึมผ่านทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสโลหิต ไปยังเซลล์ที่ต้องการ ร่างกายจะใช้พลังงานจากสารอาหาร(ที่ย่อยแล้ว) ในการสร้างกล้ามเนื้อกระดูก ต่อมไร้ท่อและฮอร์โมน เส้นประสาทและระบบประสาท และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ไปจนถึงการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย แต่เมื่อเจ็บป่วย หรือเกิดภาวะทุโภชนา หรือได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม หรืออายุที่มากขึ้น หรือเกิดความเครียด จะมีผลให้การสร้างเอนไซม์ลดลง การย่อยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนไม่สมบูรณ์ ทำให้ร่างกายขาดสารให้พลังงานที่จำเป็น เกิดภาวะร่างกายอ่อนแอ อ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังเกิดการหมักและเน่าเสียของอาหารในลำไส้ ทำให้ท้องผูก มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ลมหายใจมีกลิ่น และมีความเสี่ยงต่อมะเร็งทางเดินอาหาร 

เอ็นไซม์เป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ ซึ่งจะถูกทำลายโดยความร้อน และจะทำงานช้าหรือหยุดการทำงานในสภาวะเย็นจัดถึงแช่แข็ง การแช่เย็นจึงเป็นการถนอมอาหาร และช่วยคงลักษณะภายนอกของอาหารได้นานขึ้น อาหาร (เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้) ปรุงสุกโดยผ่านความร้อน เอ็นไซม์ที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้จะถูกทำลายหมด โดยปกติอาหารสด จะยังมีเอ็นไซม์ที่ยังทำการย่อยสารโมเลกุลใหญ่ๆ (ในตัวมันเอง)ได้ เมื่อวางทิ้งไว้ในสภาวะปกติ จึงมีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอก สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ เอ็นไซม์ในเนื้อสัตว์นั้นจะทำงานได้ แต่จุลินทรีซึ่งก็มีเอ็นไซม์จะมาร่วมการย่อย/หมักและทำงานได้เร็วกว่า เกิดการเน่า/เสีย อาหารโปรตีนจึงเน่า/เสียง่าย ในผัก ผลไม้สดจะมีเอ็นไซม์ ที่ย่อยตัวเอง และยังคงจะได้สารอาหารที่มีประโยชน์ได้อีกระยะหนึ่ง(ช้าหรือเร็ว ขึ้นกับชนิดของผัก ผลไม้นั้น) ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ผัก ผลไม้ ไม่เน่าเสียทันที่ที่หลุดจากต้น โดยผลไม้จะแก่/สุกขึ้น บางชนิดหวานขึ้น เพราะมีการย่อยสลายแป้งเป็นน้ำตาล และจะเน่า/เสียช้ากว่าเนื้อสัตว์ เอ็นไซม์จากผัก ผลไม้สดจึงมีประโยชน์กว่าในเนื้อสัตว์ และจะช่วยการย่อยอาหารในทางเดินอาหารของคนได้ นี่คงเป็นสาเหตุที่ทำให้การกินอาหารเนื้อสัตว์มากๆ จะอึดและแน่นท้องมากกว่าการกินอาหารผัก ผลไม้สด 

จึงควรกินผักและผลไม้สดเป็นประจำ หรือให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 มื้อ อาหารเคียงผักสด เป็นอาหารที่หาได้ง่าย เช่น ส้มตำ น้ำพริกผักสด สลัดผัก เมี่ยงคำ น้ำยาผักเคียง ส่วนผลไม้ก็หาง่าย ควรเป็นผลไม้ที่ไม่หวานจัด เนื่องจากน้ำตาลทำให้เซลล์ร่างกายอ่อนแอ นอกจากนี้การกินผัก ผลไม้สดจะได้รับเส้นใยไฟเบอร์ ซึ่งจะเป็นกากอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ทำให้มีสุขภาวะที่ดีและลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง(ถ้ามีในอาหารตกค้าง)ในทางเดินอาหารเป็นเวลานานๆ 

 เราควรมีชีวิตอยู่แบบธรรมชาติมากที่สุด ปล่อยให้ร่างกายเป็นไปตามความเป็นจริง อย่ามีความสุขกับการปรุงแต่ง บิดเบือนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เพราะนั่นจะสิ้นเปลืองและไม่ยั่งยืน กิน ผัก ผลไม้สดทุกมื้อ เพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายกันเถอะ

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Melmed GY, Devlin SM, Vlotides G, Dhall D, Ross S, Yu R, Melmed S. Anti-aging therapy with human growth hormone associated with metastatic colon cancer in a patient with Crohn's colitis. Clin Gastroenterol Hepatol; 2008, 6(3):360-3.
  2. Human growth hormone (HGH): Does it slow aging? http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/healthy-aging/in-depth/growth-hormone/
  3. Human Growth Hormone (HGH) Directory. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/human-growth-hormone-hgh-directory


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้