เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เก็บยาในโรงพยาบาลให้ถูกวิธี


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: http://www.clipartlord.com/wp-content/up...pital5.png
อ่านแล้ว 72,197 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 03/07/2559
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

การเก็บรักษายาที่ห้องยาของโรงพยาบาลนั้นต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากยามีหลากหลายรายการ หากเก็บไม่ถูกต้องจะทำให้ยาเสื่อมคุณภาพ และอาจทำให้หยิบยาผิด ผู้ป่วยเกิดอันตรายจากการได้รับยาที่ไม่ถูกต้อง
หลักการเก็บยาที่ถูกวิธีต้องคำนึงถึง ความปลอดภัย ถูกหลักวิชาการ และตรวจสอบง่าย ดังนี้
วิธีการเก็บรักษา
  1. การกำหนดสถานที่เก็บ มีแผนผังแสดงตำแหน่งการจัดเก็บเวชภัณฑ์ชัดเจนเพื่อความสะดวกแก่การค้นหา อาจกำหนดเป็นรหัสตัวเลขบอกสถานที่เก็บ
  2. ควรวางเวชภัณฑ์บนชั้น ไม่ควรวางไว้กับพื้นโดยตรง หากจำเป็นควรมีแผ่นไม้หรือแท่นรองรับเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้นไม่ให้มาสู่ยา นอกจากนี้ยังทำให้การทำความสะอาดพื้นเป็นไปได้อย่างสะดวก
  3. ัดยาเป็นหมวดหมู่ อาจแบ่งตามรูปแบยา เช่น ยาเม็ด ยาฉีด ยาน้ำ ยาใช้ภายนอก เป็นต้น
  4. ัดเวชภัณฑ์ที่รับเข้าใหม่หรือที่มีอายุการใช้ยาวกว่าไว้ด้านในหรือด้านซ้าย จัดเวชภัณฑ์เก่าหรือที่มีอายุการใช้งานสั้นกว่าไว้ด้านนอกหรือด้านขวา
  5. ยาที่มีลักษณะภายนอกคล้ายกันควรทำสติกเกอร์ติดเพิ่ม เพื่อป้องกันการหยิบยาผิด ก่อนที่จะเก็บเข้าชั้นวาง ดังรูปที่ 1
    (จากเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาการตลาดยา ของ ภญ. พ.ต.อ.หญิงศิริพร จรุงศักดิ์เศรษฐ์)
  6. ติดสติกเกอร์สีต่างๆ แสดงปีที่ยาหมดอายุ และพิมพ์หมายเลขของเดือนที่หมดอายุลงบนสติกเกอร์ ลงที่ขวดหรือกล่องให้เห็นชัดเจน ทำบัญชีควบคุมวันหมดอายุของยาและเวชภัณฑ์และตรวจสอบทุกเดือน หากพบว่ายาใดใกล้หมดอายุ (ภายใน 6 เดือนข้างหน้า) และมีค้างอยู่ในคลังเวชภัณฑ์จำนวนมากซึ่งอาจใช้ไม่หมดทันเวลา ให้รีบรายงานต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลและคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด เพื่อขอความร่วมมือในการใช้หรือทำการแลกเปลี่ยนกับผู้ขาย
  7. ยาที่ต้องเก็บรักษาเป็นพิเศษ เช่น
    • ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ต้องแยกเก็บไว้เป็นสัดส่วนในที่มั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย มีกุญแจใส่ไว้พิเศษ
    • ยาที่มีราคาแพงมาก ควรแยกเก็บ การหยิบยาต้องมีการควบคุม
    • ยาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ต้องแยกเก็บ ควบคุมการเบิกจ่ายโดยผู้ที่มีอำนาจ
    • แอลกอฮอล์และวัสดุไวไฟอื่นๆ เช่น เอธิลคลอไรด์ (ethyl chloride), อะซีโตน (acetone) ต้องเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำและต้องเก็บแยกต่างหากจากเวชภัณฑ์อื่นๆ เพราะติดไฟได้ง่าย
    • ยาประเภทชีววัตถุ เช่น อินซูลิน วัคซีน เซรุ่ม แอนตี้ทอกซิน ท็อกซอยด์ต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิสำหรับเก็บเวชภัณฑ์โดยเฉพาะ และควรติดสติกเกอร์ บอกสภาวะการเก็บที่ถูกต้อง ดังรูปที่ 2
      (จากเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาการตลาดยา ของ ภญ. พ.ต.อ.หญิงศิริพร จรุงศักดิ์เศรษฐ์)
    • ยาที่มีความเสี่ยงสูง (high - alert drugs) หมายถึงยาที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดอันตราย หรือผลเสียต่อผู้ป่วยอย่างรุนแรง ถ้าหากมีความผิดพลาดในการสั่งใช้ยา คัดลอกคำสั่งใช้ยา จ่ายยา หรือการให้ยา ดังนั้นจึงต้องมีการจัดเก็บยาอย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้เกิดการหยิบผิด ดังนี้
      • ควรแยกยากลุ่มนี้ไว้ห่างกับยาที่มีรูปลักษณ์ภายนอกของภาชนะบรรจุที่คล้ายคลึงกัน เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการจ่าย/เตรียมยา
      • ติด Sticker สีแดงที่ภาชนะที่เก็บยา เพื่อให้ชัดเจน และเพิ่มความระวังในการใช้ยามากขึ้น ดังรูปที่ 3
        (จากเอกสารประกอบการบรรยาย วิชาการตลาดยา ของ ภญ. พ.ต.อ.หญิงศิริพร จรุงศักดิ์เศรษฐ์)
สภาวะที่ใช้เก็บยา
สภาวะในการเก็บรักษายาจะถูกระบุไว้ที่ฉลากยา อย่างไรก็ตาม การเก็บยาตามสภาวะการจัดเก็บยาที่ดีไม่ได้ยืนยันว่ายาจะมีความคงตัวตลอดไป เพราะจะต้องดูวันหมดอายุของยาด้วย ในกรณีที่ไม่ระบุสภาวะในการเก็บ ควรเก็บในสภาวะที่ป้องกันความชื้น ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30o C และไม่แช่แข็ง
ระบบปรับอากาศของคลัง ควรมีการควบคุมอุณหภูมิ มีตู้เย็นพร้อมเทอร์โมมิเตอร์ประจำตู้ มีบันทึกการตรวจสอบอุณหภูมิของตู้เย็นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21083197
  2. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/193
  3. http://www.healthtoday.net/thailand/Disease_n/disease177_5.html
  4. http://www.pharmyaring.com/download/drug_sharing1_pdf.pdf


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


15 วินาทีที่แล้ว
27 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้