เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


โรคไขมันพอกตับ : ยาที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับและยาที่ใช้รักษา


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://www.naturalliverdetox.net/wp-cont...-detox.jpg
อ่านแล้ว 102,843 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 06/12/2558
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


โรคไขมันพอกตับ คือ การมีไขมันไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับ ปกติอาหารไขมันที่ร่างกายได้รับจะถูกเผาผลาญที่ตับและเนื้อเยื่อต่างๆ แต่เมื่อร่างกายได้รับไขมันเกินความต้องการ ไขมันส่วนเกินจะถูกสะสมในรูปเนื้อเยื่อไขมัน เนื้อเยื่อไขมันจะค่อยๆสะสมในตับของบุคคลที่รับประทานอาหารซึ่งมีไขมันในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายจะจัดการได้ อีกสาเหตุของการมีไขมันสะสมในตับ คือ การที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนไขมันให้อยู่ในรูปที่ถูกกำจัดออกได้ เมื่อตับมีไขมันสะสมอยู่มากกว่า 5% บุคคลนั้นจะเป็นโรคไขมันพอกตับ ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่บางรายอาจรู้สึกไม่สบายบริเวณใต้ชายโครงขวา อ่อนเพลีย นั่นคือโรคนี้ค่อยๆ พัฒนาขึ้น และตับที่มีไขมันสะสมอยู่จะง่ายต่อการเกิดความเสียหาย ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบและเกิดแผลเป็นในเนื้อตับ 
 
โรคไขมันพอกตับ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ โรคไขมันพอกตับที่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcoholic fatty liver disease , AFLD) และ โรคไขมันพอกตับที่มิได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) 
สำหรับโรคไขมันพอกตับที่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทราบได้จากประวัติของการดื่มแอลกอฮอล์จัด ส่วนโรคไขมันพอกตับที่มิได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์นั้นปัจจุบันพบว่าหากร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินแล้วจะเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ หลังจากนั้นอาจจะมีปัจจัยหรือกลไกอื่นอีกที่มากระตุ้นให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมักมีกลุ่มโรคทางเมตาบอลิก คือ โรคอ้วน โรคเบาหวานหรือภาวะดื้ออินซูลิน และไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย นอกจากนี้ ภาวะผิดปกติทางโภชนาการเช่น การอดอาหาร ขาดโปรตีน การให้อาหารทางหลอดเลือด การผ่าตัดทำตัดต่อลำไส้ การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ปัจจัยทางพันธุกรรม ยาบางชนิด ก็อาจเหนี่ยวนำให้เกิดโรค NAFLD ได้ ทราบได้อย่างไรว่าเป็น โรคไขมันพอกตับ 
โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการที่บ่งบอกความผิดปกติของตับ คือ ค่า ALT, AST, ALP ผิดปกติ หรือ ตับโต แพทย์จะตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีไขมันพอกตับ จึงต้องทำการตรวจตับด้วยอัลตร้าซาว์ด ซึ่งจะบอกได้ว่ามีไขมันที่ตับหรือไม่ การวินิจฉัยทางการแพทย์อื่นที่สามารถระบุว่ามีไขมันพอกตับหรือไม่ เช่นการทำซีทีสแกน proton magnetic resonance spectroscopy (H-MRS), และเอ็มอาร์ไอ (MRI) ในบางกรณีแพทย์อาจขอเจาะเอาตัวอย่างเนื้อตับไปตรวจทางพยาธิวิทยา 
ในการรักษาโรคไขมันพอกตับ ยังไม่มียาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงสำหรับโรคนี้ ยาที่ใช้ในการรักษา ประกอบด้วย

  • วิตามีนอี สารต้านออกซิเดชั่น เพราะอนุมูลอิสระเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ
  • Silymarin มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น ต้านการอักเสบ และช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับ ทำให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษ เช่น Carbon tetrachloride, Galactosamine , Ethanol, Paracetamol, Lanthanides, FV3 virus, โลหะหนัก, Thioacetamide และ เห็ดพิษบางชนิด
  • Ursodeoxycholic acid ช่วยลดภาวะการอักเสบของตับ ทำให้การทำงานของตับดีขึ้น ช่วยลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน
  • Metformin กระตุ้นความไวต่ออินซูลิน

หากสาเหตุของโรคเกิดจาก โรคอ้วน โรคเบาหวานหรือภาวะดื้ออินซูลิน และไขมันในเลือดสูง การรักษาจะเน้นที่การปรับพฤติกรรมการรับประทาน การให้ผู้ป่วยลดน้ำหนัก (ลดน้ำหนักลงอย่างน้อย 15% ของน้ำหนักเดิม โดยลด 1-2 กิโลกรัม/เดือน ) และให้ออกกำลังกาย เพื่อลดไขมันที่สะสมในตับ ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ต้องลดปริมาณไขมันที่รับประทาน และรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ 
ยาที่มีรายงานว่าสามารถทำให้เกิดไขมันพอกตับ คือพาราเซทามอลในขนาดสูง แอสไพริน คอร์ติโคสเตียรอยด์ ยาต้านซึมเศร้าและยารักษาโรคจิตบางชนิด valproate, 5-FU, irinotecan, cisplatin, L-asparaginase, griseofulvin corticosteroids, , amiodarone, methotrexate, tetracycline ขนาดสูง ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, warfarin, tamoxifen, , ยาต้านเอดส์กลุ่ม NRTIs (เช่น stavudine, zidovudine, didanosine) , Nonsteroidal anti-inflammatory drugs (ibuprofen, naproxen), Cocaine, diltiazem, warfarin , วิตามิน เอ ขนาดสูง, Perhexiline maleate 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Rabinowich L and Shibolet O. BioMed Research Internationa. lVolume 2015 (2015), Article ID 168905, 14 pageshttp://dx.doi.org/10.1155/2015/168905 access 6 October 2015
  2. http://livertox.nih.gov/Phenotypes_Fatty.html (United States National Library of Medicine) access 6 October 2015
  3. Kneeman JM, Misdraji J and Corey KE. Therap Adv Gastroenterol. 2012 May; 5(3): 199–207
  4. รองศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ http://www.thailiverfoundation.org/th/cms/detail.php?id=28 access 6 October 2015
  5. Patel and Sanyal. Clin Liver Dis 2013:17;533–546
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


กว่าจะมาเป็นยา 20 วินาทีที่แล้ว
การตรวจปัสสาวะ 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้