เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


โรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่น


รองศาสตราจารย์ ดร.ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://study.com/cimages/multimages/16/h..._large.jpg
อ่านแล้ว 35,679 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 30/09/2558
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ปัจจุบันมีเด็กไทยจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาทางจิตเวชเด็ก ส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองหลาย ๆ คนรู้สึกกังวลและสงสัยเกี่ยวกับความแตกต่างของบุตรหลานของตนเอง ที่ไม่เหมือนกับเด็กอื่น ๆ ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะพยายามทุ่มเทดูแลเลี้ยงดู และทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีที่สุดแล้วก็ตาม ซึ่งปัญหาทางจิตเวชเด็กส่วนใหญ่แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

 

  1. ปัญหาทางอารมณ์ ได้แก่ ความวิตกกังวล ความกลัว อาการซึมเศร้า อาการย้ำคิดย้ำทำ อาการทางร่างกายที่ทำให้นึกถึงว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากจิตใจ
  2. ปัญหาพฤติกรรม ซึ่งได้แก่ การดื้อดึง ท้าทาย อาละวาด ก้าวร้าว การต่อต้านสังคม เช่น การขโมยของ วางเพลิง ยาเสพติด
  3. ปัญหาพัฒนาการช้าในด้านต่าง ๆ ได้แก่ สมาธิ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การเล่น การควบคุมการขับถ่าย การเรียน เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ
  4. ปัญหาความสัมพันธ์ ที่อาจ เกิดจากเด็กเอง เช่น เด็กออทิสติก เด็กสมาธิสั้น ซนไม่อยู่นิ่ง หรือเกิดจาก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง เช่น ความผิดปกติของความ ผูกพัน
    อาการของโรคจิตเวชเด็กในแต่ละช่วงวัยจะแสดงออกแตกต่างกัน และไม่เหมือนอาการในวัยผู้ใหญ่ เพราะพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงอายุไม่เหมือนกัน ซึ่งเด็ก และวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ ทั้งในส่วนของการเจริญเติบโตของสมอง ร่างกาย และจิตใจ โดยสมองของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ขวบ จะมีการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 80 ของผู้ใหญ่ จากนั้นการเจริญเติบโต ก็จะช้าลง ซึ่งหากในช่วงดังกล่าวมีปัจจัยด้านลบมากระทบต่อการเจริญเติบโต ของสมอง ก็จะมีแนวโน้มทำให้เด็กเกิดปัญหาพัฒนาการช้า ผิดปกติ หรือเป็นโรคทางจิตเวชเด็กตามมาได้ ปัจจุบันปัญหาที่พบบ่อยในวัยเด็กอายุ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ คือ ปัญหาทางด้านอารมณ์ และพฤติกรรม เช่น ดื้อ เอาแต่ใจ ความกลัว ความวิตกกังวล มาก กว่าปกติ ปัญหาพัฒนาการล่าช้า หรือผิดปกติ พูดช้า สติปัญญาต่ำกว่าปกติ รวมถึงโรคออทิสซึม ส่วนปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียนอายุตั้งแต่ 12-16 ปี นั้น คือ ปัญหาเรื่องการเรียน สืบเนื่องจากเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือเป็นโรคที่มีความบกพร่องของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ( Learning disorder) สติปัญญาต่ำกว่าปกติ รวมถึงปัญหาด้านอารมณ์ และพฤติกรรม ที่อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากปัญหา ในวัยเด็กเล็กที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม
    สำหรับปัญหาที่พบบ่อยในช่วงวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 12-18 ปี คือ ปัญหาการเรียนแบบสื่อ ปัญหาการคบเพื่อน และปัญหาการปรับตัว ปัญหาทางจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นนั้น ถ้าหากมีปัญหามากและซับซ้อนก็ต้องปรึกษากับแพทย์ หรือบุคลากรที่ทำงานทางด้านนี้ ซึ่งหากเด็กได้รับความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมจะทำให้เด็กสามารถมีพัฒนาการตามวัยที่ปกติและมีพฤติกรรม อารมณ์ที่เหมาะสมแต่ถ้าเด็กไม่ได้รับการช่วยเหลือ ก็จะทำให้เด็กต้องเสียโอกาส อย่างเช่น ปัญหาเรื่องการเรียน ซึ่งปัจจัยหลักที่ ทำให้เด็กมีปัญหาในเรื่องเรียนจะเกิดจากตัวเด็กเอง
    แต่ในปัจจุบันสามารถที่จะคัดกรอง และแยกแยะพัฒนาการของเด็กที่มีความเสี่ยง ที่จะพัฒนาเป็นโรคต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า หรือ เด็กออทิสติก เด็กที่มีความยากลำบากในการเรียนรู้ ( LD) เด็กสมาธิสั้น
    โดยพบว่า โรคสมาธิสั้นเป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มเด็กที่พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของเด็กอายุ 8-11 ปีและร้อยละ 5-10 ของเด็กวัยเรียนโดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง 4-6 เท่า อาการสำคัญคือขาดสมาธิ ซนอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่น ทำให้มีผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ การเรียน และการเข้าสังคมกับผู้อื่น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่สามารถใช้ชีวิตในห้องเรียนได้เหมือนเด็กปกติ มักจะรบกวนชั้นเรียนเนื่องจากการที่ทำอะไรไม่ได้เท่ากับเพื่อน จะรู้สึกเศร้าและหงุดหงิด เมื่อไม่เป็นที่ชื่นชอบของเพื่อนร่วมชั้นจะไม่อยากไปโรงเรียน รู้สึกโดดเดี่ยวไร้ค่า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ ผลกระทบของผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการประเมินและการบำบัดรักษานั้น มีความรุนแรงและเป็นปัญหาระยะยาวทั้งต่อตัวเด็ก ครอบครัวและสังคม
    สรุปสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันของประเทศไทย
    ภาคประชาชน
    • ยังขาดความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงและการดูแลและผลกระทบของโรคสมาธิสั้น
    • ขาดแคลนทุนทรัพย์ ขาดแหล่งสนับสนุนทางเศรษฐกิจ สังคม เพื่อการใช้จ่ายในการเดินทาง รักษาโรคสมาธิสั้นทั้งของผู้ป่วยและผู้ปกครอง
    • จำนวนจิตแพทย์เด็กมีจำนวนน้อย ประมาณ 150 คนต่อประชากรเด็กและวัยรุ่น 19.5 ล้านคน
    • สหวิชาชีพซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจัดบริการมีความขาดแคลนใกล้เคียงกัน บริการจิตเวชเด็กและวัยรุ่นกระจุกอยู่ในเขตเมือง
      • มีสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการให้บริการทางด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่นน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตตัวเมือง หรือเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต ความล่าช้าและความยากในการเข้าถึงบริการ
      • การประเมินผู้ป่วยใหม่แต่ละรายใช้เวลาในการประเมินตั้งแต่ 15-30 นาที
      • ระยะเวลารอนัดในคลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่นติด อันดับ 1ใน 5 ของคลินิกที่มีระยะเวลารอนัดนาน
      • การนัดผู้ป่วยรายใหม่ยาก และใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการดูแล
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้