เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ไซลาซีน (Xylazine) ยาสลบสำหรับสัตว์ที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด


รศ.ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 116,406 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 15/10/2556
อ่านล่าสุด 8 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวและจดหมายเตือนจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งเรื่องมีการนำยาสลบสำหรับสัตว์ที่ชื่อ ไซลาซีน (Xylazine) มาผสมในเครื่องดื่ม เพื่อทำให้ผู้ที่ได้รับยานี้เข้าไปหมดสติ และมีการขโมยทรัพย์สินไปโดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว

ไซลาซีน (Xylazine) เป็นยาสลบที่ใช้กับสัตว์ เช่น ม้า วัว กวาง รวมทั้งสัตว์ทดลองต่างๆ ยานี้เป็นอนุพันธ์ของยา Clonidine โดยออกฤทธิ์กระตุ้น α2receptors ทั้งที่ระบบประสาทส่วนกล่างและทั่วร่างกาย มีฤทธิ์ทำให้ง่วงไปจนถึงสลบ มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและยังมีฤทธิ์แก้ปวดอีกด้วย ฤทธิ์ของยาส่วนใหญ่จะเป็นฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จะทำให้อยู่ในภาวะสะลึมสะลือหรือสภาวะหลับขึ้นอยู่กับขนาดยาที่ได้รับ และจะมีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 1-2 ชั่วโมง และยังมีผลทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวจนเกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อเปลี้ยได้ รวมทั้งอัตราการหายใจก็ลดลงด้วย

ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ในช่วงแรกมักทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง แต่หลังจากนั้นความดันโลหิตจะลดต่ำลงและอยู่นานตลอดระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์รวมทั้งอาจมีผลกดการทำงานของหัวใจและทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะอีกด้วย

ปกติยานี้จะใช้สำหรับฉีดเพื่อทำให้สัตว์สงบลงหรือใช้ในการผ่าตัด ในประเทศสหรัฐอเมริกา ยาสลบสำหรับสัตว์จะเป็นControlled drug จะต้องมีการเก็บในตู้ที่ใส่กุญแจและต้องมีการควบคุมการใช้อย่างเคร่งครัด

ยานี้เป็นยาน้ำใส หรือเป็นยาผงสำหรับผสมฉีด เมื่อใส่ลงไปในเครื่องดื่มแล้วจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งสี ความขุ่นและกลิ่นของเครื่องดื่ม ทำให้มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ทำให้ผู้ที่ได้รับยานี้เข้าไปมีอาการดังที่กล่าวข้างต้น อาการจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นกับขนาดยาไซลาซีน (Xylazine) ที่ได้รับเข้าไป ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มจากคนแปลกหน้า โดยเฉพาะเวลาเดินทางหรืออยู่คนเดียว เพราะอาจมีมิจฉาชีพกระทำการในลักษณะนี้ได้

การดูแลตนเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นเหยื่อเหล่านี้ นอกจากนั้นต้องมีการควบคุมการจำหน่ายและการมีไว้ในครอบครองของยาเหล่านี้อย่างเคร่งครัดต่อไป

แหล่งอ้างอิง/ที่มา


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะระขี้นก 5 วินาทีที่แล้ว
ยาที่ผู้หญิงพึงระวัง 36 วินาทีที่แล้ว
ยาหอม กับคนวัยทำงาน 41 วินาทีที่แล้ว
50 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้