เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


สถานะการณ์ราคายาในประเทศไทย


รองศาสตราจารย์ ดร. ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 14,264 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 18/09/2556
อ่านล่าสุด 2 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

ในปี 2553 มูลค่ายาเพื่อการบริโภคในประเทศสูงถึง 134,482,077,585 บาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 35 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ มีอัตราการเพิ่มสูงกว่าการเพิ่มขึ้นของการลงทุนด้านสุขภาพ และสูงกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ สาเหตุของการเพิ่มที่สูงมากนี้ เกิดจากการใช้ยาเกินความจำเป็นโดยเฉพาะยาที่มีราคาแพง การที่ยาราคาแพงมากนั้นเกิดเนื่องจากเป็นยาในสิทธิบัตรซึ่งที่ต้องนำเข้า รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วจะวางนโยบายด้านราคายา พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่กำหนดราคายาให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและความสามารถในการจ่าย และในขณะเดียวกันต้องเกิดความเป็นธรรมกับผู้ผลิตยา 
ภารกิจสำคัญในการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศไทยเป็นไปอย่างแยกส่วน ขาดการเสริมแรงซึ่งกันและกัน ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดราคายาตกอยู่ในอำนาจของบริษัทผู้ผลิตยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นยาที่มีผู้ผลิตรายเดียวหรือน้อยราย ซึ่งไม่มีกลไกการตลาดมาควบคุม 
ในอีกส่วนหนึ่งของสังคม การใช้ยาที่มีราคาแพงนั้นอาจกระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยซึ่งมีกำลังจ่าย แต่ด้วยความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลด้านประสิทธิผลและราคาที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อ จะเป็นช่องว่างให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคายาที่ไม่สมเหตุผลได้ หากไม่มีการกำกับควบคุมดูแลที่เหมาะสมเพียงพอ ผู้บริโภคอาจจะถูกเอารัดเอาเปรียบด้วยการใช้ยาที่มีการตั้งราคาสูงเกินไป ปัญหาราคายาที่ไม่มีการควบคุมดูแลจึงส่งผลกระทบกับผู้ใช้ยาในทุกภาคส่วนของสังคม และยังส่งผลกระทบต่อความถดถอยของอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ 
การที่ไม่มีระบบการกำหนดและควบคุมราคายาที่เหมาะสม ทำให้ยาที่จำหน่ายในประเทศไทยมีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น กล่าวคือค่ามัธยฐานของราคายาต้นแบบที่จำหน่ายแก่ผู้ป่วยโดยสถานบริการภาครัฐมีราคาเป็น 4.36 เท่าของราคาอ้างอิงสากล และราคายาต้นแบบที่จำหน่ายแก่ผู้ป่วยในร้านยาภาคเอกชนพบว่ามีราคาสูงถึง 11.6 เท่าของราคายาอ้างอิงสากล 
จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ปัญหาราคายาในประเทศเป็นประเด็นหนี่งที่ควรผลักดันให้เกิดการหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่กำหนดและควบคุมราคายาในประเทศที่เหมาะสม โปร่งใส โดยหากพิจารณาตามบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ พบว่ามาตรการกำหนดและควบคุมราคายาควรได้รับการนำมาบังคับใช้ ทั้งในระยะหลังจากขึ้นทะเบียนยา(ก่อนออกจำหน่าย) ระยะคัดเลือกยาเพื่อบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ และในระยะการเบิกจ่ายค่ายา โดยใชกลยุทธ์ในการกำหนดและควบคุมราคายาที่เหมาะสมตามบริบทที่เกี่ยวข้อง

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. กระทรวงสาธารณสุข. (2543). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งกำหนดสิ้นอายุไว้ในฉลาก พ.ศ.2543 วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
  2. นัยนา สันติยานนท์. ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา. Thai Pharm Health Sci J,. 2008;3(1):180-7.
  3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการจัดเก็บยา (Guide to Good Storage Practice - GSP). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาการและยา เรื่อง การจัดจำหน่ายและการจัดเก็บวัคซีน2555.
  4. Lowe R A. Storage, stability and in-use shelf-life guidelines for non-sterile medicines. London, Eastern and South East Specialist Pharmacy Services. 2001.
  5. The United States Pharmacopeia : USP29 : the National Formulary : NF23 : by authority of the United States Pharmacopeial Convention, meeting at Washington, D.C., March 9-13, 2005 / prepared by the Council of Experts and published by the Board of Trustees: Rockville, Md. : United States Pharmacopeial Convention Inc., c2006. Asian ed.; 2006.

-->

เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้