เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


สมุนไพรใช้ในอายุรเวท


รองศาสตราจารย์ ดร.อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 34,591 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 26/08/2556
อ่านล่าสุด 4 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

อายุรเวทเป็นศาสตร์การแพทย์ของชาวอารยันหรือชาวฮินดู มีหลักเกณฑ์ในการใช้สมุนไพรที่ลึกซึ้ง โดยมีหลักในการจำแนกสมุนไพร 5 ประการคือ

 

  1. Rasa คือ รส
  2. Guna คือ คุณสมบัติ
  3. Veerya คือ กำลัง
  4. Vipaka คือ การแปรเปลี่ยนของสมุนไพรเมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์
  5. Prabhava คือ ความเฉพาะ


1. Rasa แบ่งออกเป็น 6 รส ได้แก่
 

  • รสหวาน (Madhura) เพิ่มความมีชีวิตชีวา บำรุงกำลัง บำรุงน้ำนม บำรุงสายตา และทำให้พยาธิเติบโต เหมาะกับเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้บาดเจ็บ ผู้ที่มีศีรษะล้าน และคนอ่อนแอ รสเปรี้ยว (Amla) กระตุ้นความอยากอาหารและการย่อยอาหารให้ความรู้สึกเย็นแต่มีผลที่ได้คือความร้อน รักษาโรคในระบบวาตะ เป็นยาระบาย ไม่เป็นผลดีต่ออสุจิ ทานเป็นนิสัยทำให้เกิดสภาวะ amblyopia เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษากรีกแปลว่า " dullness of vision " หรือเรียกว่า lazy eyeเป็นภาวะตามัว (หมอชาวบ้าน)
  • รสเค็ม ( Lavana) บำรุง ผ่อนคลายกระเพาะลำไส้ ทำให้ดีและเสมหะผิดปกติ ทำให้อ่อนแอ ลดพฤติกรรมทางเพศ กระตุ้นให้มีเหงื่อออกมาก ทานอย่างต่อเนื่องทำให้ผมขาว
  • รสเผ็ด (Katu) ร้อน ทำลายพยาธิ ลดการหลั่งน้ำนม ทำให้น้ำมูกแห้ง เจริญอาหารลดไขมันในร่างกาย บำรุงสติปัญญา แต่บั่นทอนกำลังและความงาม
  • รสขม (Tikta) เย็น ดับกระหาย ดับไข้และความรู้สึกแสบร้อน รักษาโรคเกี่ยวกับโลหิต แต่ทำให้วาตะผิดปกติ ถ้ามากเกินไปเกิดอาการปวดศีรษะ
  • รสฝาด (Kashaya) รักษาแผล ทำให้ท้องผูก และผิวหนังอ่อนนุ่ม ถ้าทานบ่อยๆทำให้ตัวแข็ง ท้องอืดและเจ็บที่หัวใจ


2. Guna คือ คุณสมบัติ ที่ได้ผ่านการใช้จากชาวอารยันโบราณและบันทึกต่อๆกันมาคือ Materia Medica ของอินเดีย จักได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป

3. Veerya คือ กำลัง อันเนื่องมาจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ตัวยาจะมีกำลังเป็นร้อน (Ushna Veerya) หรือเย็น (Sheeta Veeraya) ตัวยาร้อนทำให้เกิดการวิงเวียน กระหายน้ำ หงุดหงิด ไม่สบาย เหงื่อออก ความรู้สึกแสบร้อน ระงับไอ และวาตะ เพิ่มน้ำดีและช่วยย่อย ตัวยาเย็นลดน้ำดีเพิ่มวาตะและเสมหะ ทำให้มีแรงและความสุข บำรุงโลหิต เมื่อให้ยาที่มีผลเหมือนกับอาการโรคที่เป็นดังที่กล่าวว่า Similia similibus curantur ในการรักษาแบบ homeopathy คือหลักการที่คนป่วยจากการได้รับความร้อนจะต้องรักษาด้วยยาร้อนแต่มีผลทำให้เย็น และเช่นเดียวกันกับโรคจากความเย็น ไม่เชานนั้นจะมีผลร้าย

4. Vipaka คือ การแปรเปลี่ยนของสมุนไพรเมื่อเข้าไปในร่างกายมนุษย์ เมื่อถึงกระเพาะถูกกับน้ำย่อยจะถูกสลายและกลายเป็นอย่างอื่น มีสรรพคุณเปลี่ยนไปจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิด สภาวะที่เปลยี่ยนแปรไปของตัวยาเรียกว่า Vipaka โดยขึ้นกับรสยา ถ้าเป็นรสเค็มจะกลายเป็นหวาน รสขมและรสฝาดกลายเป็นเผ็ด ส่วนรสหวาน เปรี้ยว เผ็ด มี Vipaka คงเดิม ยกเว้นข้าวมีรสหวานแต่ด้วยอิทธิพลจากร่างกายกลายเป็นเปรี้ยว สมอไทยมีรสฝาดแต่ในร่างกายเป็นรสหวาน Sweet Vipaka บำรุงเสมหะ ลดวาตะและน้ำดี Sour Vipaka เพิ่มน้ำดีลดวาตะและเสมหะ ขณะที่ Pungent Vipaka ทำให้เกิดโรควาตะ ลดเสมหะและน้ำดี ดังนั้นผลในการรักษาจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับรสยาเพียงอย่างเดียวแต่ยังขึ้นอยู่กับรสของ Vipaka ของตัวยานั้นด้วย

5. Prabhava คือ ความเฉพาะของตัวยานั้นๆ มียาหลายตัวที่มี ทั้ง 4 ข้อข้างต้นเหมือนกันแต่ผลของยาต่างกัน เช่น Madhusarava (Madhuca longifolia) และ Draksha (Vitis vinifera) ต่างก็มีรสหวาน เย็น หนัก และมี sweet vipaka แต่ตัวแรกทำให้ท้องผูกในขณะที่ตัวหลังช่วยระบาย คุณสมบัติอันนี้เรียกว่า Prabhava อีกตัวอย่างคือ เจตมูลเพลิงขาว Chitraka (Plumbago zeylanica) และ Danti (Croton polyandrum) ต่างก็มีรสเผ็ด ร้อน เบา pungent vipaka แต่ ตัวแรกช่วยย่อยในขณะที่ตัวหลังเป็นยาถ่ายอย่างแรง
จากหนังสือ History of Hindu Medical Science โดย Bhagvat Sinh Jee ได้บันทึกรายชื่อสมุนไพรที่ใช้ในอายุรเวทและมีการใช้ประโยชน์ในการแพทย์แผนไทยด้วย ซึ่งมีชื่อสันสกฤต ชื่อวิทยาศาสตร์และสรรพคุณในการแพทย์ตะวันตกและสรรพคุณทางอายุรเวท เปรียบเสมือน Materia Medica
เป็นคุณสมบัติข้อ 2 Guna ของการพิจารณาการใช้ประโยชน์สมุนไพร

ลำดับสรรพคุณทางฮินดูสรรพคุณทางแพทย์ชื่อสันสกฤตชื่อวิทยาศาสตร์ชื่อไทยสรรพคุณไทย*
1Angamarda-prashamanaantispasmodicVidarigandhaCostus speciosusเอื้องหมายนาแก้ปวดเกร็ง
2AnulomanacatharticHaritakiTerminalia chebulaสมอไทยยาถ่าย
3ArshognahaemostaticIndrayavaWrightia antidysentericaตระกูลเดียวกับโมกมันหยุดเลือด
4ArtavotpadakaemmenagogueJotishmatiCardiospermum helicacabumโคกกระออมขับประจำเดือน
5AshmarighnalitholyticGokshuraTribulus terrestrisโคกกระสุนสลายนิ่ว
6BhedanapurgativeKatukiPicorrhiza kurroaโกฐก้านพร้าวยาถ่าย
7ChardinigrahanaanemeticDadimaPunica granatumทับทิมถ่ายพยาธิ
8ChhedanalaxativeMarichiPiper nigrumพริกไทยยาระบาย
9DahaprashamanaantipyreticUshiraAndropogon nardusตะไคร้หอมแก้ไข้
10DambhaescharoticBhallatakaSemecarpus anacardiumมะม่วงหิมพานต์กัดหูด ตาปลา
11DeepaneeyastomachicPippalimoolaPiper longumดีปลีบำรุงธาตุ
12GarbhasraviecbolicGrinjanaDaucus carotaแครอตบีบมดลูกเร่งคลอด
13GrahicarminativeJeerakaCuminum cyminumยี่หร่าขับลม
14KafaharaantiphlegmagogueBibheetakaTerminalia bellericaสมอพิเภกระงับเสมหะ (ไตรธาตุ)
15KafakaraphlegmagogueIkshuSaccharum officinarumอ้อยกระตุ้นเสมหะ (ไตรธาตุ)
16KandughnaantipsoricChandanaSantalum albumจันทนาแก้คัน

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. จาก History of Hindu Medical Science โดย Bhagvat Sinh Jee, Logos Press, New Delhi, 1895 (reprinted 1998) อยู่ในห้องสมุด Aligahr Muslim University, Aligahr, India และหาอ่านได้จากinternet
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


สมุนไพรใช้ในอายุรเวท 1 วินาทีที่แล้ว
ตกขาว .. รักษาอย่างไร 8 วินาทีที่แล้ว
1 นาทีที่แล้ว
สัตว์เลี้ยงกับยา 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้