เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดล จัดสัมมนาบุคลากรทางการแพทย์ภาคเหนือ เรื่อง “ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ”

อ่านแล้ว 4,916 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555  
คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ในฐานะผู้ประสานงาน โครงการ “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทยเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2554” จัดสัมมนาบุคลากรทางการแพทย์ภาคเหนือ ในหัวข้อเรื่อง “ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ: มุมมองจากทฤษฎีการแพทย์แผนไทยและข้อมูลเอกสารทางวิชาการ” เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2555 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่ จากการที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นที่ปรึกษาโครงการ “การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทยเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2554” ในปี 2554-2555 เพื่อการเตรียมตัวรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าและสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทย และการส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในทุกภาคส่วนเพื่อการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค และปกป้องตลาดยาภายในประเทศ โครงการนี้ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลักและ 3 กิจกรรมย่อย ซึ่งกิจกรรมหลักที่ 3) การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในทุกภาคส่วนเพื่อการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค และปกป้องตลาดยาภายในประเทศ ในส่วนกิจกรรมย่อยที่ 3.1 การส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์รู้จักใช้ตำรับยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ จะมีการจัดสัมมนาบุคลากรทางการแพทย์ทั้ง 4 ภาค ครั้งละ 2 วัน ผู้เข้าร่วมสัมมนา ครั้งละไม่น้อยกว่า 100 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี การแพทย์แผนไทย และการใช้ยาไทยโดยเฉพาะรายการยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ สร้างความมั่นใจในการสั่งจ่ายยาสมุนไพร ส่งเสริมการใช้ยาไทย เป็นการดำรงไว้ซึ่งภูมิปัญญา และวัฒนธรรมการใช้ยาไทย เป็นการพึ่งตนเองด้านยา การสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่ 2 ของโครงการฯ โดยมีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักการแพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม นักจัดการทั่วไป และนักศึกษาแพทย์แผนไทย จาก 16 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน นครสวรรค์ พะเยา พิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี) ให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาจำนวนรวมทั้งสิ้น 147 คน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ประกอบด้วย นายแพทย์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี รองศาสตราจารย์พร้อมจิต ศรลัมพ์ รองศาสตราจารย์ ดร. สุวรรณ ธีระวรพันธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ ประธานธุรารักษ์ และรองศาสตราจารย์ ดร. สีวบูรณ์ สิรีรัฐวงศ์ ที่มาร่วมบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ -นโยบายสนับสนุนการใช้สมุนไพรของรัฐ และแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในสถานบริการของรัฐ -AFTA กับรายการสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และหลักการวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคตามทฤษฏีการแพทย์แผนไทย -ประสบการณ์การใช้สมุนไพรในโรงพยาบาลของรัฐโดยแพทย์แผนปัจจุบัน -สมุนไพรเดี่ยวบนหลักฐานข้อมูลทางวิชาการ: ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ขิง และชุมเห็ดเทศ -สมุนไพรเดี่ยวบนหลักฐานข้อมูลทางวิชาการ: พริก พญายอ ไพล และบัวบก -การพิสูจน์สรรพคุณของตำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลัก: ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์ ยา เหลืองปิดสมุทร และยาจันทน์ลีลา -การพิสูจน์สรรพคุณของตำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลัก: ยาตรีผลา ยาไฟประลัยกัลป์ -อันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ยังได้รับชมการจัดนิทรรศการของยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และนิทรรศการของภาคเอกชนในกลุ่มสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และได้รับเอกสารประกอบการบรรยาย “คู่มือการใช้สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์” อีกด้วย




Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


สัตว์เลี้ยงกับยา 12 วินาทีที่แล้ว
ดอกคาโมมายล์ 1 นาทีที่แล้ว
ว่านชักมดลูก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้