เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


มหิดลช่วยพัฒนาการผลิตยาแผนไทยของภาคอุตสาหกรรม

อ่านแล้ว 2,259 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 07 มกราคม 2553  
เป็นที่ทราบกันดีว่า ภายใต้ข้อตกลง AFTAหรือเขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศไทยจะต้องเริ่มลดอัตราภาษีนําเข้าสินค้าจํานวน 439 รายการในวันที่ 1 มกราคม 2545 ลงเหลือร้อยละ 5 ส่วนที่เหลืออีก 472 รายการจะลดภาษีร้อยละ 5 ในวันที่ 1 มกราคม 2546 และจะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม 2553 ข้อตกลงนี้จะช่วยเสริมสร้างสถานะการแข่งขัน และ การขยายตลาดการผลิตสินค้าที่แต่ละประเทศมีความเชี่ยวชาญและได้เปรียบด้านต้นทุน ซึ่งจะทําให้อาเซียนสามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต้นทุนที่ตํ่าและจะเป็นจุดแข็งในเวทีการค้าระหว่างประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพรอาจจะมีผลกระทบเชิงลบเพราะขาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและมาตรฐานคุณภาพของสินค้า ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเองด้านยา และสนับสนุนการผลิตยาสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศรายชื่อยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ จำนวน 19 รายการและมีเป้าหมายให้โรงพยาบาลในสังกัดใช้ยาสมุนไพรดังกล่าวทดแทนยาแผนปัจจุบัน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน FTA ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงดำเนินการวิจัยในโครงการ ยุทธศาสตร์การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยเพื่อลดผล กระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตยาสมุนไพรให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งด้านการผลิตยาและควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาพัฒนาระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบไปจนเป็นผลิตภัณฑ์และระบบการตลาด ส่วนที่สอง เป็นการวิจัยและพัฒนาสูตรตำรับที่เหมาะสมสำหรับการผลิตยาจากสมุนไพรและตำรับยาแผนไทย จำนวน 19 ชนิด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยจัดการอบรมผู้ผลิตยาแผนไทยภาคเอกชนจำนวน 60 ราย ให้มีความรู้ที่ทันสมัยในการผลิตตามรูปแบบยาที่ระบุในบัญชียาหลักฯ และยังช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตยา 19 ตำรับที่วิจัยไว้ให้ด้วย ส่วนที่สาม เป็นการสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรเหล่านั้นให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 19 ชนิดแก่ผู้บริโภค ซึ่งได้จัดไปแล้ว 2 ครั้ง ระหว่างวันที่ 28 – 29 กันยายน 2552 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับภาคใต้ และวันที่ 14 – 15 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส โคราช จังหวัดนครราชสีมา ในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และในระยะต่อไปมีกำหนดการจัดอีกสองครั้ง เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยาสมุนไพร เรื่อง “การพัฒนายาสมุนไพรตามบัญชียาหลักแห่งชาติ 19 ตำรับ” ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาสมุนไพร ทั้งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาลูกกลอน ครีมและ เจลทาภายนอก ซึ่งจะจัดอบรมเป็นระยะรวม 5 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2553 ณ ห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และการสัมมนาวิชาการบุคลากรทางการแพทย์ เรื่อง ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ : มุมมองจากทฤษฎีการแพทย์แผนไทยและข้อมูลเอกสารทางวิชาการ ครั้งที่ 3 ภาคเหนือ ในวันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ 2553 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการที่ผลิตยาสมุนไพรไทยและบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-6448677-89 ต่อ 5501




Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


3 วินาทีที่แล้ว
กระเทียมดำ 3 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้