เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


หลักสูตร MUHTA จัดประชุมวิชาการ เรื่อง การประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ป่วยในสถานการณ์จริง (Real World Data) และบทบาทของผู้ป่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายในประเทศไทยและต่างประเทศ

อ่านแล้ว 146 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2567  

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 9.00 น. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) จัดการประชุมวิชาการ ในหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ป่วยในสถานการณ์จริง (Real World Data) และบทบาทของผู้ป่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายในประเทศไทยและต่างประเทศ" โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นทั้งในรูปแบบ Onsite ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และในรูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมรวมทั้งหมด 79 คน

การประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 5-6 กันยายน 2567 โดยมีการบรรยายและอภิปรายทางวิชาการจากคณาจารย์ประจำหลักสูตร HTA นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ ประธานหลักสูตรร่วม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง อาจารย์ประจำหลักสูตร MUHTA และวิทยากรรับเชิญภายนอกทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย 1) Prof. Olivia Wu จาก Institute of Health and Wellbeing, University of Glasgow สหราชอาณาจักร 2) Dr. Jasmine Pwu ผู้อำนวยการของหน่วยงาน National Hepatitis C Program ประเทศไต้หวัน 3) นายแพทย์สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) ดร.ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว หัวหน้าฝ่ายวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ 5) พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 6) นางวราภรณ์ สุวรรณเวลา รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้เข้าอบรมให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ข้อมูลของผู้ป่วยในสถานการณ์จริง (Real World Data) ในประเทศไทยและต่างประเทศ และเสริมสร้างศักยภาพผู้เข้าอบรมให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของผู้ป่วยในกระบวนการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์

นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าว ยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ





Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้