เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลเข้าร่วมพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ The National Health Insurance Authority (NHIA) สาธารณรัฐกานา

อ่านแล้ว 410 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2565  
เมื่อวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอุษา ฉายเกล็ดแก้ว ประธานหลักสูตร ศาสตราจารย์ ดร. อัมรินทร์ ทักขิญเสถียร ประธาน (ร่วม) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และรองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงมนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ ประธาน (ร่วม) หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Health Technology Assessment Graduate Program, MUHTA) พร้อมด้วยคณาจารย์จากหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ กับ Dr. Bernard Okoe Boye, Chief Executive Officer, the National Health Insurance Authority (NHIA) สาธารณรัฐกานา ณ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ด้วย ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงอุษา ฉายเกล็ดแก้ว กล่าวสรุปความร่วมมือทางด้านการศึกษาและวิชาการที่ผ่านมาระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ The National Health Insurance Authority (NHIA) ณ ห้อง 530B สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ เป็นการขยายความร่วมมือระหว่าง MUHTA กับ The National Health Insurance Authority (NHIA) สาธารณรัฐกานา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพสำหรับบุคลากรของ NHIA และบุคลากรสาธารณสุขของสาธารณรัฐกานา ทั้งนี้ หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพเป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และบัณฑิตวิทยาลัย นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขอบคุณข้อมูลจาก กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล แหล่งอ้างอิง https://mahidol.ac.th/th/2022/mahidolpy-mou-nhia/




Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ว่านชักมดลูก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้