เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลร่วมจัดประชุมวิชาการ เรื่อง Non-clinical safety pharmacology and toxicology studies for herbal products in practice

อ่านแล้ว 605 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 04 พฤศจิกายน 2565  
เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และ สถาบันเค อะโกร-อินโนเวท (K Agro-innovate Institute) จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง “Non-clinical safety pharmacology and toxicology studies for herbal products in practice” โดยมีผู้บริหารและคณาจารย์จากคณะฯ นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งเภสัชกรจากหน่วยงานต่างๆ ในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนผู้บริหาร เภสัชกร และบุคลากรของ K Agro-innovate Institute เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพ การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ประธานกรรมการที่ปรึกษา สถาบันเค อะโกร-อินโนเวท เป็นประธานในพิธี ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาทีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ เภสัชกรฉัตรชัย พานิชศุภภรณ์ ผู้อำนวยการกองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นร่วมวิทยากรในการประชุมดังกล่าว ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมกว่า 60 คน สำหรับคณาจารย์ของคณะฯ ซึ่งได้ร่วมเป็นวิทยากร ได้แก่ 1) อาจารย์ ดร.ภก. พงศธร มีสวัสดิ์สม สังกัดภาควิชาเภสัชวิทยา บรรยายในหัวข้อ ’เภสัชวิทยาของยา สารที่มีผลต่อหัวในและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system) และระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)’ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สพญ.นรรฆวี แสงกลับ สังกัดภาควิชาสรีรวิทยา บรรยายในหัวข้อ ’พิษวิทยาของยา’ การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างราบรื่นและตรงตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียน และตรงตามมาตรฐานระดับสากล โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนโครงการ “น่าน Sandbox” ที่มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้สามารถเข้าสู่การดำเนินการในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ต่อไป นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 9 คือ สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน




Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาหอม กับคนวัยทำงาน 1 วินาทีที่แล้ว
มะระขี้นก 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้