เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ 2022 US-Thai Pharmacy Consortium Virtual Meeting

อ่านแล้ว 651 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 07 มิถุนายน 2565  
เมื่อวันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2565 เวลา 07.30 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณาจารย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ ‘2022 US-Thai Pharmacy Consortium Virtual Meeting’ ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2565 (ตามเวลาในประเทศไทย (GMT +7)) โดยมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุม ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Webinars โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ จาก 19 สถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย และ 18 สถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงคณาจารย์และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน เภสัชกรประจำบ้าน และเภสัชกรวิชาชีพ เข้าร่วมการประชุมออนไลน์นี้มากกว่า 300 คน สำหรับกิจกรรมในการประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าว ประกอบด้วย การบรรยาย หารือ และแลกเปลี่ยนทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความก้าวหน้า วิทยาการ องค์ความรู้ใหม่ และเทคโนโลยีทางการศึกษาในสาขาเภสัชศาสตร์ศึกษาและเภสัชศาสตร์ในแขนงต่างๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยากรรับเชิญของสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ และประเทศสหรัฐอเมริกา ในโอกาสนี้ คณาจารย์ของคณะฯ ยังได้ร่วมเป็นวิทยากรในการบรรยายดังกล่าวด้วย ดังนี้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ (Moderator) ร่วมกับ Prof. Alan Lau จาก University of Illinois at Chicago ในวันที่7 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.30-10.30 น. (ตามเวลาประเทศไทย) 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพ เป็นวิทยากรรับเชิญในหัวข้อ “Pharmacy School Accreditation: US (ACPE) and ASEAN/AUN-QA Perspectives” ร่วมกับ Prof. Michael Katz จาก University of Arizona ในวันที่ 8 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 - 09.45 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ทั้งนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติ ‘2022 US-Thai Pharmacy Consortium Virtual Meeting’ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา (Pharmacy Education) และด้านเภสัชศาสตร์ (Pharmacy & Pharmaceutical Sciences) ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในวิชาชีพเภสัชกรรม และผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีในระดับสากล รวมทั้งเพื่อจุดประกายความก้าวหน้าด้านเภสัชศาสตร์และวิชาชีพเภสัชกรรมระหว่างคณาจารย์ เภสัชกรวิชาชีพ นักวิชาการ และนักวิจัยทางเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาวิชาชีพ ยกระดับบทบาทของสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านเภสัชศาสตร์ศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์และวิชาชีพเภสัชกรรมในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา การวิจัย และการบริการวิชาชีพทางเภสัชกรรม สำหรับการประชุมวิชาการนานาชาติ US-Thai Pharmacy Education Consortium ได้ถูกจัดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้บันทึกข้อตกลง ’Memorandum of Agreement: U.S. - Thai Consortium for the Development of Pharmacy Education in Thailand” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาที่ผลิตบุคลากรด้านเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญของการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย และมีส่วนผลักดันให้เกิดพัฒนาการและความก้าวหน้าด้านการศึกษาเภสัชศาสตร์อย่างต่อเนื่องมาถึง 20 ปี โดยการประชุมวิชาการนานาชาติ US-Thai Pharmacy Education Consortium ได้ถูกกำหนดให้จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ซึ่งมีการจัดประชุมครั้งล่าสุด คือ 2021 US-Thai Pharmacy Consortium ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2564 และวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 (Post Conference) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting อันเนื่องมาจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน




Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 42 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้