อ่านแล้ว 1,343 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565
ระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดประชุมวิชาการ เรื่อง Drug Interactions: From PK/PD to Patient Safety & Optimal Outcomes (DI-P2) ผ่านระบบ Cisco Webex Events โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมซึ่งมีผู้ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมกว่า 690 คน
ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภายในคณะฯ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เป็นวิทยากรบรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นเภสัชกร แพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาล บริษัทยา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในระดับต่างๆ ของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกลไกของการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เพื่อประยุกต์และนำมาใช้ในการวางแผนการรักษาที่มุ่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยาโดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ รวมทั้งยังสามารถประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาร่วมกัน สามารถวางแผนติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา และให้คำปรึกษาทางยาแก่ผู้ป่วยให้เกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
สำหรับเนื้อหาการประชุมครอบคลุมหัวข้อ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (drug interaction) ขอบเขตของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยการประยุกต์ความรู้ทางเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) การค้นหาและประเมินปฏิกิริยาระหว่างยา คู่ปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ การประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาร่วมกัน การให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาปฏิกิริยาระหว่างยาเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย
นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ’ร่วมรำลึกและสืบสานปณิธาน 100 ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร (ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล)’ อีกทั้งยังเพื่อเป็นการรำลึกถึง รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล อดีตคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 17 กันยายน 2559 – 16 กันยายน 2563) อีกด้วย
ทั้งนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ในโอกาสนี้ คณะฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดการประชุม ดังรายนามต่อไปนี้
1) บริษัท เซอร์เวียร์ (ประเทศไทย) จำกัด
2) บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด
3) บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด
4) บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด
5) บริษัท แอลเลอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด
6) เวอร์วาก ฟาร์มา จีเอ็มบีเอช แอนด์ โค เคจี
7) บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด
8) บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด
9) บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด
10) บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
11) บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด
12) บริษัท โนวาร์ตีส แผนกธุรกิจ SANDOZ
Photo Gallery