เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


เภสัชมหิดลร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ จัดเสวนา ’บัวบก พันธุ์ศาลายา 1’

อ่านแล้ว 1,282 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2564  
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปภัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดโครงการเสวนาวิชาการ หัวข้อ ’บัวบก พันธุ์ศาลายา 1 โอกาสสู่พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย’ ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และถ่ายทอดสดผ่าน YouTube Channel: MUPharmacy MahidolUniversity โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนาและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการเสวนาและสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ที่ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วม 112 คน การเสวนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย “บัวบกพันธุ์ศาลายา 1 (Salaya 1)” ต่อสื่อมวลชนกลุ่มต่างๆ รวมทั้งเพื่อประชาสัมพันธ์ “บัวบกพันธุ์ศาลายา 1 (Salaya 1)” และให้ความรู้ด้านศักยภาพเชิงเศรษฐกิจของบัวบก ต่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรกร และประชาชนที่สนใจ โดยภายในการเสวนาประกอบด้วยการบรรยาย จำนวน 4 หัวข้อ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้ 1) แนวทางการวิจัยผลิตภัณฑ์สมุนไพรบัวบกในยุคโควิด-19 โดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ และ ดร.ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว 2) การประยุกต์ใช้งานวิจัยบัวบกในโลก (โรค) หลังโควิด 19 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาพรีคลินิก สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 3) การพัฒนาบัวบก พันธุ์ศาลายา 1 เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล 4) โอกาสและความท้าทายทางการตลาดของบัวบก และแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากบัวบกสายพันธุ์ศาลายา โดย ดร.ผลบุญ นันทมานพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คริมสัน คอนซัลติ้ง จำกัด และ ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ ทั้งนี้ จุดเริ่มต้นของการจัดเสวนาวิชาการดังกล่าว เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ ได้พัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์บัวบก จนประสบความสำเร็จได้ “บัวบกพันธุ์ศาลายา 1 (Salaya 1)” ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้ประกาศรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 และอยู่ระหว่างขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ดังนั้น จึงนับเป็นโอกาสอันดีและเหมาะสมในการจัดเสวนาวิชาการ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และประชาสัมพันธ์พันธุ์พืชใหม่ที่คณะฯ และมูลนิธิฯ ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้น ต่อผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม กลุ่มเกษตรกร และประชาชนที่สนใจ เนื่องจาก ’บัวบก’ เป็นพืชสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งเพื่อเป็นอาหาร อาหารเสริม เป็นยา และได้รับนิยมมาในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และมีการนำเข้าจากต่างประเทศในปริมาณสูง แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของบัวบก โดยเฉพาะวัตถุดิบบัวบกที่มีคุณภาพสูงทั้งปริมาณผลผลิตและสารสำคัญ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งให้กับผู้ประกอบการ และพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ทั้งนี้ การเสวนาดังกล่าวยังตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 1 คือ ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ เป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 9 คือ สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม และเป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ




Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้