อ่านแล้ว 1,108 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564
ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คุณสุพิน สรรค์วิทยากุล หัวหน้างานการศึกษา และเจ้าหน้าที่งานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต ได้จัดงาน “การศึกษาสัญจร” ตามภาควิชาจำนวน 10 ภาควิชาและ 3 สาขาวิชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน ขอคำปรึกษา ตอบคำถาม และอภิปรายร่วมกับคณาจารย์ของภาควิชาและสาขาวิชาต่างๆ โดยมี
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิระพรรณ จิตติคุณ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์ หัวหน้าภาควิชาอาหารเคมี
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วีณา สาธิตปัตติพันธ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวินิจฉัย
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วรวรรณ กิจผาติ หัวหน้าภาควิชาสรีรวิทยา
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ หัวหน้าภาควิชาเภสัชกรรม
8. ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ลีณา สุนทรสุข หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี
9. รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม
10. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วิลาสินี หิรัญพานิช ซาโตะ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา
11. รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี
ในการจัดทำ มคอ. 3-4 เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของผลการเรียนรู้ของหลักสูตร (program learning outcomes, PLOs) ผลการเรียนรู้ของวิชา (course learning outcomes, CLOs) การจัดกระบวนการเรียนการสอน (teaching and learning methods) และการประเมินผล (assessment methods), การจัดทำ มคอ. 5-6 เพื่อให้เกิดกระบวนการ plan-do-check-act ของการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินในรายวิชา โดยเฉพาะการวิเคราะห์สาเหตุของนักศึกษาที่ได้เกรด F เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์รากสาเหตุ (root cause analysis) และปรับปรุงรายวิชาและหลักสูตรต่อไป รวมถึงโครงการ modular learning เพื่อบูรณาการวิชาต่างๆ ใน module เดียวกันในสาขาการบริบาลทางเภสัชกรรมจำนวน 12 modules เช่น โรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคของระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ทั้งนี้ทีมการศึกษาฯ ได้อภิปรายแลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ กับคณาจารย์ และได้รับคำแนะนำที่มีประโยชน์ และความร่วมมือในการดำเนินการจัดทำ มคอ. 3-6 และการทำ modular learning เป็นอย่างดี ซึ่งจะส่งผลดีต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผลสัมฤทธิ์ในการศึกษาของนักศึกษา
นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Photo Gallery