เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


การประชุมสรุปและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทย

อ่านแล้ว 1,986 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2556  
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง “การประชุมสรุปและเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทยเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2554” ในวันที่ 29 มีนาคม 2556 ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล (โรงแรมสยามซิตี้ ) ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กทม. โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ภาคเอกชน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพร บุคลากรทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข อาจารย์ นักวิจัย และประชาชนผู้สนใจ จำนวนทั้งสิ้น 109 คน และมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพรเข้าร่วมออกบูท 6 บริษัท โครงการนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนเป็นที่ปรึกษาจากกองทุนโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุน FTA) กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินโครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพรไทยเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า AFTA ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2554 ในปี 2554-2556 (ระยะเวลา 2 ปี) โดยในระยะเวลาที่ผ่านมาได้ดำเนินงานในกิจกรรมหลักทั้ง 3 กิจกรรม เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้จัดกิจกรรมที่ 4 ซึ่งเป็นการประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินการให้แก่ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตยาในโรงพยาบาลของรัฐ บุคคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมหลักที่ 1 การศึกษาวิจัยทางคลินิกและการวิจัยพัฒนารูปแบบตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ 2554 ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 1.1 การศึกษาประสิทธิผลทางคลินิกของตำรับครีมไพลสกัด ได้มีการพัฒนาตำรับยาครีมไพลสกัดและมีการพิสูจน์ประสิทธิผลทางคลินิก 1.2 ศึกษาและวิจัยพัฒนารูปแบบตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลัก 2554 จำนวน 8 ตำรับ ได้แก่ ตำรับยาเม็ด 6 ตำรับ ได้แก่ ตำรับยาเบญจกูล ตำรับยาไฟประลัยกัลป์ ยาตรีผลา ยาสหัศธารา ยาประสะจันทน์แดง ยาริดสีดวงมหากาฬ และตำรับยาแคปซูล 2 ตำรับ ได้แก่ ยาบำรุงโลหิต และยาประสะไพล กิจกรรมหลักที่ 2 การพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูงขึ้นและการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 2.1 พัฒนาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตยาสมุนไพร โดยจัดทำหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเวลา 15 วัน มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตยาแผนโบราณ สังกัดสมาคมผู้ผลิตยาแผนโบราณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 67 คน 2.2 พัฒนาผู้ผลิตยาสมุนไพรในโรงพยาบาล โดยจัดทำหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เป็นเวลา 15 วัน มีผู้ผลิตยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่มีการผลิตยาและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพร ได้แก่ เภสัชกรแผนปัจจุบัน นักการแพทย์แผนไทยประยุกต์ นักการแพทย์แผนไทย หรือนักสาธารณสุข จากทุกภูมิภาค เข้ารับการอบรม จำนวน 51 คน กิจกรรมหลักที่ 3 ส่งเสริมการใช้ตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในทุกภาคส่วนเพื่อการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค และปกป้องตลาดยาภายในประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 3.1 สัมมนาบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีความรู้เกี่ยวกับ งานวิจัยและการศึกษาทางคลินิกของตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากทุกภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 582 คน 3.2 ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้ตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับ งานวิจัยและการศึกษาทางคลินิกของตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ประโยชน์และการนำไปใช้ของตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ นอกจากนี้ประชาชนยังได้ฝึกเตรียมยาใช้เองในครัวเรือน เป็นการพึ่งตนเองทางด้านยา ได้แก่ ลูกประคบไพล และน้ำมันไพล (เตรียมตามวิธีแบบภูมิปัญญา) ได้จัดอบรม 4 ครั้ง ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรสาคร และสมุทรปราการ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา รวมทั้งสิ้น 433 คน




Photo Gallery


งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


2 วินาทีที่แล้ว
ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 2 วินาทีที่แล้ว
ไขมันทรานส์ 6 วินาทีที่แล้ว
วิตามินซีกับโรคเกาต์ 31 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้