เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 5


รองศาสตราจารย์ สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 19,192 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 20/11/2554
อ่านล่าสุด 2 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

แถบหด
แถบหดรอบฝาใช้หลักการหดตัวของพอลิเมอร์เมื่อถูกความร้อน ที่ใช้กันมากคือ PVC ในลักษณะเป็นหลอดกลมที่เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าฝาและวงแหวนรอบคอขวด ตัดให้ได้ความยาวตามต้องการด้วยเครื่องตัดอัตโนมัติ แล้วครอบลงตรงบริเวณฝาที่ปิดขวดและวงแหวนรอบคอขวด ดังแสดงในรูปที่ 1 จากนี้ขวดเคลื่อนตัวเข้าไปในอุโมงค์ร้อน ซึ่งทำให้แถบหดตัวรัดฝาแน่นกับฝาที่ปิดขวดและวงแหวนรอบคอขวด หากต้องการเอาฝาออกต้องทำลายแถบหด เราสามารถเอาแถบหดออกได้ง่ายขึ้น โดยจัดทำลักษณะรอยปรุเหนือบริเวณส่วนล่างขึ้นมาพองาม ซึ่งจะทำให้เห็นร่องรอยการแกะชัดเจนขึ้น1 ประโยชน์ของแถบหดอยู่ที่บ่งชี้ร่อยรอยการแกะจำกัดบริเวณตรงฝาเท่านั้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องหุ้มรอบภาชนะทั้งหมด ซึ่งทำให้ไม่สิ้นเปลืองวัสดุและเวลาที่ใช้ ผลิตภัณฑ์จึงมีราคาไม่แพงมากนัก

 

ผนึกบนปากภาชนะ
การปิดผนึกบนปากภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์เรียกว่าการปิดผนึกภายใน วัสดุที่ใช้ ได้แก่ เทอร์โมพลาสติก พอลิสไตรีนโฟม กระดาษแก้ว ฟิล์มพลาสติก หรือใช้หลายตัวร่วมกับฟอยล์อลูมิเนียม โดยมีการออกแบบเฉพาะตัว ให้ปิดผนึกบนปากภาชนะ และด้านล่างของฝา ดังนั้นจะเปิดผนึกได้จะต้องมีการตัดหรือทำให้แตกขาดเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ และเมื่อขจัดผนึก จะเห็นร่อยรอยการแกะและไม่สามารถนำผนึกกลับมาใช้ใหม่ได้ 2 ดังแสดงในรูปที่ 2
 
การปิดผนึกภายในที่ดีนั้น ผนึกจะต้องอยู่ในสภาพดีไม่เปลี่ยนแปลง และสามารถปิดผนึกได้ทั่วถึง มีการแนะนำให้ใช้วิธีการเหนี่ยวนำความร้อนสำหรับฝาชนิดพลาสติก แต่ไม่ควรใช้กาวเหนียวที่ไวต่อแรงกด2 เพราะอาจหลุดได้ง่าย
 
การปิดผนึกภายในกับขอบปากภาชนะบรรจุ ทำให้เวลาเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะต้องทำลายผนึกเท่านั้น โดยทั่วไปนิยมใช้กาวหรือเคลือบเหนียวที่ไวต่อความร้อน ความร้อนที่ได้เกิดจากการเหนี่ยวนำความถี่สูงให้แก่ฟอยล์อลูมิเนียมซึ่งส่วนประกอบของผนึกภายใน เมื่อปิดฝาขวด ขวดจะถูกนำไปผ่านขดลวดเหนี่ยวนำซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูงที่ฟอยล์ ทำให้ฟอยล์ร้อนขึ้นและชั้นพอลิเมอร์ที่เคลือบด้านล่างจะปิดผนึกกับปากขวด ดังแสดงในรูปที่ 3 ทำให้ไม่สามารถแกะผนึกออกมาได้โดยไม่มีร่องรอยการแกะ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับฝาพลาสติกเท่านั้น หากเป็นฝาโลหะจะรบกวนการเหนี่ยวความร้อนให้แก่ฟอยล์ นอกจากนี้จะต้องออกแบบผนึกภายในให้มีการพิมพ์หรือตกแต่งให้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียว1

เอสารอ้างอิงถึง

  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. Aluminum induction bottle cap sealing liner. Well-Pack Industries Co., Ltd., Taiwan (http://www.manufacturer.com/cimages/product/www.itrademarket.com/0502/l/ 266963_capseal3.sm.jpg)
  4. Induction sealing. Wikipedia, the free encyclopedia. (http://en.wikipedia.org/wiki/Induction_sealing).
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


5 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้