เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 3


รศ.ดร.ภก. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 24,938 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 14/08/2554
อ่านล่าสุด 6 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/y9usq5dh
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/y9usq5dh
 

แผงฟอยล์
แผงฟอยล์เป็นบรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันก็ว่าได้ แต่ละแผงฟอยล์นิยมใช้บรรจุยาเม็ดหรือยาแคปซูลหลายเม็ด เช่น แผงละ 4 เม็ดในยาบรรเทาปวดลดไข้และแก้หวัด 8 เม็ด หรือ 10 เม็ดในยาปฏิชีวนะ 21 เม็ด หรือ 28 เม็ดในยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น โดยมีความสามารถในการปกป้องยาแต่ละหน่วยรับประทานให้แยกออกจากกัน (unit dose package) การปกป้องที่ดีคือการเป็นเกราะป้องกันออกซิเจน ความชื้น และหรือแสง ตามที่ต้องการ เมื่อมีการแกะเกิดขึ้น ก็จะทิ้งร่องการแกะชัดเจน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือแผงบริสเตอร์ และแผงสตริป

  1. แผงบริสเตอร์
    เมื่อกล่าวถึงบรรจุภัณฑ์แบบแผงฟอยล์ เราจะนึกถึงแผงบริสเตอร์ก่อนอื่น เนื่องจากนิยมใช้กันมากในทางเภสัชกรรมด้วยเหตุผลหลายข้อที่เป็นข้อดี คือสามารถป้องกันผลิตภัณฑ์จากบรรยากาศแวดล้อม ได้แก่ ออกซิเจน ความชื้น และหรือแสง มีลักษณะที่สวยงาม เพิ่มประสิทธิผลในการรักษา สะดวกในการพกพา ต้านเด็กแกะ และบ่งชี้ร่องรอยการแกะ1 ได้แก่ แผงบริสเตอร์บรรจุยาเม็ด/แคปซูลปฏิชีวนะ ยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นต้น


    ดังรูปที่ 1 ส่วนของแผ่นนูนเป็นลามิเนต (ฟิล์มหลายชั้น) ของแผ่นฟิล์มพลาสติกประมาณ 3 ชนิด โดยมีพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) หรือพอลิโพรไพลีน (PP) เป็นตัวร่วมหลัก 1 ชั้นที่แข็งแรง กำหนดรูปร่างที่คมชัด ใส และสวยงาม สำหรับ PP จะขุ่นกว่าเล็กน้อย แต่สามารถป้องกันความชื้น และออกซิเจนได้ดีกว่า PVC แต่อาจใช้ฟอยล์อลูมิเนียมแทน PVC หรือ PP เพื่อให้สามารถป้องกันแสงได้ทั้ง 2 ด้านของแผง แต่ไม่สามารถเห็นยาที่อยู่ข้างในได้
    แผ่นรองหรือแผ่นฝาใช้ฟอยล์อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งปกป้องการซึมผ่านของอากาศและไอน้ำได้พอควร ป้องกันแสง และสารเคมี มีความคงตัวสูง และสะอาด ยังมีชั้นของพลาสติกชนิดเหมาะสมด้านบนของฟอยล์เพื่อทำให้ปิดผนึกด้วยความร้อนกับส่วนล่างของแผ่นนูนได้
    ข้อที่ควรพิจารณาคือ แผงบริสเตอร์เป็นบรรจุภัณฑ์ต้านเด็กเล็กแกะ จากเหตุผล 2 ประการคือ ต้านเด็กเจาะ ซึ่งเป็นการป้องกันเด็กใช้นิ้วเจาะตรงฟอยล์อลูมิเนียม และต้านเด็กลอก ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้เด็กลอกแผ่นฝาออกจากแผ่นนูน1
    เมื่อมีการแกะเกิดขึ้นเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะเห็นร่องรอยการแกะชัดเจน คือแผ่นรองตรงบริเวณฝาของถุงยาจะถูกเจาะเพื่อเอายาเม็ดหรือแคปซูลออกมา2
  2. แผงสตริป

    แผงสตริปเป็นแผงฟอยล์ที่นิยมใช้บรรจุยาเม็ดและแคปซูล ดังแสดงในรูปที่ 2 แผ่นลามิเนตที่มีขีดการปิดผนึกจากม้วน 2 ม้วน เคลื่อนที่เข้าหากันเพื่อผ่านเข้าไปในลูกกลิ้งร้อน หยอดผลิตภัณฑ์ลงในถุงที่ขึ้นรูปล้อเลียนผลิตภัณฑ์ ต่อมาปิดผนึก และตัดให้แต่ละแผงฟอยล์เท่าๆ กันโดยมีจำนวนผลิตภัณฑ์จำนวนเท่าๆ กัน เช่น แผงละ 10 เม็ด เป็นต้น
    แผ่นลามิเนตที่ใช้ปิดผนึกประกบยา ควรเป็นเกราะป้องกันไอน้ำและออกซิเจนที่ดี ซึ่งอาจเป็นแผ่นลามิเนตของพอลิไวนิลลิดีนคลอไรด์ (PVDC)/เซลโลเฟน/พอลิเอธิลีน (PE) หรืออาจเป็นเซลโลเฟนเคลือบ PE ซึ่งมีราคาค่อนข้างถูก แต่การปกป้องจะน้อยกว่าแบบแรก หากเราใช้ฟอยล์อลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบหลักทั้งสองผิวหน้า ซึ่งเรียกว่า อลู-อลูสตริป จะสามารถป้องกันแสงได้ดี และป้องกันการซึมผ่านของอากาศกับไอน้ำได้พอควร โดยมีชั้นเคลือบพลาสติกที่สามารถปิดผนึกด้วยความร้อน1
    เมื่อมีการแกะเกิดขึ้นเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะเห็นร่องรอยการแกะชัดเจนคือแผงสตริปจะฉีกขาดเพื่อเอายาเม็ดหรือแคปซูลออกมา2

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed. Department of Health and Aging, Australian Government. June, 2003.

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 6 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้