เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัยในช่วง COVID-19


รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://absolute-health.org/media/wysiwy..._1-1_2.jpg
อ่านแล้ว 21,196 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 01/07/2564
อ่านล่าสุด 5 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยมาตั้งแต่โบราณ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata และมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ Andrographolide ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ฟ้าทะลายโจรเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงมีความสำคัญว่าเราจะใช้ฟ้าทะลายโจรอย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัย 
 
ภาพจาก : https://thaipbs-world.s3.ap-southeast-1.amazonaws.com/thaipbsworld/wp-content/uploads/2020/02/25155854/000_1OH98R.jpg 
1. ข้อบ่งใช้ของฟ้าทะลายโจร

  • การใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อยเพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง ให้แบ่งรับประทานในขนาดที่มีปริมาณสารสำคัญคือ Andrographolide 180 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยแบ่งให้รับประทานวันละ 3 ครั้ง (ครั้งละ 60 มิลลิกรัม)1,2 หลังอาหาร3 เช้า กลางวัน และ เย็น ติดต่อกันนาน 5 วัน2
  • การใช้ฟ้าทะลายโจรใน ผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการ ให้ใช้ฟ้าทะลายโจรในขนาดที่มีปริมาณสารสำคัญคือ Andrographolide 60 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยแบ่งให้รับประทานวันละ 3 (ครั้งละ 20 มิลลิกรัม) หลังอาหาร3 เช้า กลางวัน และเย็น ติดต่อกันนาน 5 วัน2
  • ในปัจจุบันไม่มีข้อแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรในการป้องกันโรคโควิด-19 เพราะยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้
  • การใช้ฟ้าทะลายโจรฒเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ให้ใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณ Andrographolicde 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง นาน 5 วัน เว้น 2 วัน และใช้ต่อเนื่องกันไม่เกิน 12 สัปดาห์2
  • การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการของโรคหวัด เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกไหล โดยให้รับประทานในขนาดที่มีปริมาณ Andrographolide 60-120 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง (ครั้งละ 20 -40 มิลลิกรัม)1 ทั้งนี้ในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับปี พ.ศ. 25544 ได้ระบุข้อห้ามใช้ว่า ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอจากติดเชื้อ Streptococcus group A และ ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A, ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียและมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น และ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค และยังมีข้อแนะนำว่าหากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือ มีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยาควรหยุดใช้และพบแพทย์

2. ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร?2,4

  • ห้ามใช้ในหญิงตั้ครรภ์ และ หญิงให้นมบุตรเพราะอาจทำให้ทารกวิกลรูปได้
  • ห้ามใช้ผู้ที่มีประวัติแพ้ ฟ้าทะลายโจร หากใช้แล้วมีอาการแพ้ เช่น เกิดผื่น หน้าบวม ริมฝีปากบวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ให้หยุดยาทันทีและไปพบแพทย์
  • ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับหรือโรคไต

3. เมื่อรับประทานฟ้าทะลายโจรแล้วอาจเกิดอาการใดได้บ้าง?

  • อาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงที่พบได้บ่อยจากการใช้ฟ้าทะลายโจร ได้แก่ อาการทางระบบทางเดินอาหารและระบบผิวหนัง5,6 เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่อ อาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้4
  • อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงจากฟ้าทะลายโจร คิดเป็นประมาณ 103 คนต่อ 1,000 คน กล่าวคือในผู้ที่รับประทานฟ้าทะลายโจร 1,000 คน 103 คนจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรง6
  • การรับประทานฟ้าทะลายโจรเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง4 หรือรู้สึกหนาวเย็นภายใน2
  • อาการรุนแรงที่สามารถพบได้จากการใช้ฟ้าทะลายโจร ได้แก่ anaphylactic reaction7,8 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน ซึ่งอาจมีความรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากฟ้าทะลายโจรคิดเป็น 0.02 ต่อ 1,000 คน กล่าวคือ ในผู้ที่รับประทานฟ้าทะลายโจร 100,000 คน 2 คนจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง6

4. ควรระวังการรับประทานฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาใดบ้าง?4

  • ยากันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant drugs) เช่น warfarin
  • ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelet drugs) เช่น aspirin, clopidogrel
  • ยาลดความดัน (antihypertensive drugs) เพราะเสริมฤทธิ์กันอาจทำให้หน้ามืดได้ ยาที่มีกระบวนการเมทาบอลิซึมผ่านเอนไซม์ cytochrome P450 (CYP) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ CYP1A2, CYP2C9 และ CYP3A4 ส่งผลให้ยาเหล่านี้อยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น หรืออาจเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้นได้ ดังตัวอย่างแสดงในตารางต่อไปนี้

 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 120 ง วันที่ 4 มิถุนายน 2564. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/120/T_0046.PDF
  2. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2564 คำแนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ https://thaicam.go.th/wp-content/uploads/2021/04/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%88%E0%B8%A3-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C_24042564.pdf
  3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอน 36 ง วันที่ 30 กันยายน 2556 ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชียาจากสมุนไพร http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/main_drug_file/20171021185635.pdf
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ72 ง วันที่ 28 มิถุนายน 2554 ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/072/57.PDF
  5. World Health Organization. WHO Monographs on Selected Medicinal Plants. Vol 2. Geneva: World Health Organization; 2002;12-24.
  6. Worakunphanich W, Thavorncharoensap M, Youngkong S, Thadanipon K, Thakkinstian A. Safety of Andrographis paniculata: A systematic review and meta-analysis. Pharmacoepidemiol Drug Saf. 2021 Jun;30(6):727-739.
  7. Saokaew S, Suwankesawong W, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N. Safety of herbal products in Thailand: an analysis of reports in the thai health product vigilance center database from 2000 to 2008. Drug Saf. 2011 Apr 1;34(4):339-50.
  8. Suwankesawong W, Saokaew S, Permsuwan U, Chaiyakunapruk N. Characterization of hypersensitivity reactions reported among Andrographis paniculata users in Thailand using Health Product Vigilance Center (HPVC) database. BMC Complement Altern Med. 2014 Dec 24;14:515.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้