เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


วิถีชีวิตในวิกฤติโควิด-19


ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://cdn.i-scmp.com/sites/default/fil...1583141969
อ่านแล้ว 7,977 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 11/04/2563
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


วันนี้เราล้างมือไปแล้วกี่ครั้ง หลายคนอาจตอบว่า 10-20 ครั้ง หลายคนอาจตอบว่าล้างบ่อยมากเกือบทุก 5 นาที แต่ที่แน่ ๆ เราล้างมือกันบ่อยขึ้นมากกว่าเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในช่วงนี้ หลาย ๆ คนอาจจะต้องเผื่อเวลาเพิ่มขึ้นเพื่อสำรวจตัวเองว่ามีของใช้จำเป็นที่ต้องพกติดตัวไปครบหรือยัง เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แผ่นเช็ดทำความสะอาด หรือแม้กระทั่งหน้ากากป้องกันใบหน้า (face shield) เป็นต้น เวลาต้องไปพบปะผู้คนเราก็จะนั่งหรือยืนห่าง ๆ กันประมาณ 2 เมตรขึ้นไป ตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (physical distancing) เหล่านี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้คนในสังคมในช่วงการระบาดของโควิด-19 เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันการระบาดของโรคนี้ พฤติกรรมเหล่านี้หากปฎิบัติซ้ำ ๆ ก็จะกลายเป็นความปกติและเป็นวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมอนาคตไปในที่สุด บทความนี้รวบรวมวิถีชีวิตที่กำลังจะเปลี่ยนไปภายหลังผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อให้ทุกคนเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับความปกติใหม่ (new normal) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศและบนโลกของเรา 
 
ภาพจาก : https://e3.365dm.com/20/03/768x432/2372003150011722007_4948126.jpg?20200315165608 
1. การใช้ชีวิตประจำวัน ผู้คนจะคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือ ทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว
  • ดูแลความสะอาดของสถานที่พักอาศัย
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาหารที่ปลอดภัย สะอาด ปรุงสุกใหม่ ๆ
  • งดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัดหรือที่ชุมชน
  • สวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่นอกบ้าน
  • หลีกเลี่ยงการทักทายแบบตะวันตก เช่น จับมือ กอด จูบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของสาธารณะ เช่น ปุ่มกดลิฟท์ ลูกบิดประตู ราวบันได

2. การทำงาน จะมีรูปแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ได้แก่

  • ทำงานจากบ้าน (work from home)
  • ติดต่อสื่อสารและประชุมผ่านระบบออนไลน์
  • จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ บนระบบ cloud หรือคอมพิวเตอร์
  • ใช้หุ่นยนต์หรือเครื่องจักรแทนพนักงาน
  • สวมหน้ากากอนามัยในที่ทำงาน
  • จัดโต๊ะทำงานโดยมีการเว้นระยะห่าง
  • จัดรถรับ-ส่งพนักงานเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รถสาธารณะ
  • ทำความสะอาดและพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในสถานที่ทำงาน
  • จำหน่ายสินค้าหรือบริการผ่านระบบออนไลน์
  • พัฒนาระบบขนส่งสิ่งค้า (logistic)

3. การบริโภค พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค ได้แก่

  • ซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบออนไลน์
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ร้านแต่ใช้การสั่งออนไลน์แทน
  • สนใจการออกกำลังกาย
  • ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านธุรกรรมออนไลน์ (สังคมไร้เงินสด)
  • ใช้แอพพลิเคชัน (application) เพื่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ

4. การศึกษา

  • เรียนและประเมินความรู้ผ่านระบบออนไลน์ (learn from home)
  • ค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุดออนไลน์ (online library)
  • ใช้ทรัพยากรอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
  • ลดเวลาเรียนในชั้นเรียน
  • สวมหน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในชั้นเรียน
  • เหลื่อมเวลาพักของผู้เรียนในสถานศึกษา
  • ส่งเสริมสุขอนามัยของผู้เรียน เช่น จัดให้มีห้องสุขา ก๊อกน้ำล้างมือ โรงอาหาร ที่เหมาะสมและเพียงพอ เป็นต้น

วิถีชีวิตข้างต้นเป็นสิ่งใหม่ที่หลายท่านอาจจะยังไม่คุ้นชิน การรับมือกับสิ่งเหล่านี้สามารถทำได้โดย 1) ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยี การสื่อสารโดยระบบออนไลน์ ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นต้น และ 2) ปรับตัวโดยยึดแนวปฏิบัติตามหลัก 3 สร้างของกรมสุขภาพจิต ได้แก่ สร้างความปลอดภัย ความสงบและความหวัง เพื่อสร้างความคิดเชิงบวกและไม่เกิดความวิตกกังวลเกินควรต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1810991?cx_testId=2&cx_testVariant=cx_1&cx_artPos=1#cxre;cs_s
  2. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000035211
  3. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Mar2020.aspx
  4. https://www.thaipost.net/main/detail/62404
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


17 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คำเตือน บทความ/ข้อมูล/สื่อ ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสังคม โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือประกอบการทำใดๆ อันผิดกฎหมาย หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ใช้สื่อทุกรูปแบบของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเผยแพร่ในนามของหน่วยงาน ขอให้ติดต่อขออนุญาตมาที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ploypann.chi@mahidol.edu , kulwadee.kit@mahidol.edu) หากมีข้อสงสัยประการใดโปรดสอบถามที่โทร. 02 849 6056 - 7

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้