เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


การแพ้อาหารในเด็ก.........ข้อมูลสรุปสำหรับพ่อแม่มือใหม่


รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: http://smartparentprogram.blogspot.com/2...ore-9.html
อ่านแล้ว 110,945 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 25/09/2559
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


การแพ้อาหาร (Food allergy) คือ ผลต่อสุขภาพ ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งเกิดเนื่องจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เฉพาะเจาะจง และจะเกิดซ้ำได้เหมือนเดิมเมื่อรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง 
การแพ้อาหารอาจจัดแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่เกิดอย่างเฉียบพลันโดยมี อิมมูโนโกลบูลิน อี เกี่ยวข้องด้วย และชนิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับ อิมมูโนโกลบูลิน อี ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะชนิดแรกซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยและอธิบายได้ 
 
อาการแพ้อาหารพบได้มากน้อยเพียงใด 
มีรายงานการเกิดการแพ้อาหารที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานการเกิดการแพ้อาหารตั้งแต่ร้อยละ 1-2 ถึง ร้อยละ10 ในปัจจุบัน การแพ้อาหารพบได้มากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น ในประเทศออสเตรเลีย พบได้ 1 คนในเด็ก 10 คน เมื่อเด็กอายุ 1 ปี ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา พบได้ 1 คน ใน 15 คน และในประเทศแคนาดา พบได้ 1 คน ใน 20 คน 
อาการแพ้อาหารรุนแรงเพียงใด 
อาการแพ้อาหารที่เกิดขึ้นมีตั้งแต่น้อย ปานกลาง จนถึงรุนแรง อาการที่รุนแรงที่สุด คือ เกิดปฏิกริยาเฉียบพลันต่อระบบของอวัยวะในร่างกายที่สำคัญตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป ซึ่งมีผลถึงตายได้ อาการที่เกิดจากปฏิกริยาการแพ้อาหารมีดังนี้

อวัยวะ/บริเวณของร่างกายอาการ
ผิวหนังอาการคัน ผื่นแดง ผื่นลมพิษ ผิวหนังบวม
ตาอาการคัน น้ำตาไหล ตาแดง อาการบวมรอบตา
ทางเดินหายใจส่วนบนอาการคัน แน่นจมูก น้ำมูกไหล จาม เสียงแหบ กล่องเสียงบวม
ทางเดินหายใจส่วนล่างอาการไอ เสียงหวีดในลำคอ หายใจไม่ออก แน่นหรือเจ็บหน้าอก
ทางเดินอาหารอาการคันในช่องปาก อาการบวมของริมฝีปาก ลิ้น หรือ เพดานปาก คันหรือแน่นในคอ ปวดท้องเรื้อรัง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
หัวใจและหลอดเลือดหัวใจเต้นเร็ว มึนงง สลบหรือเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ
อื่นๆรสเหมือนโลหะในปาก ปวดเกร็งมดลูก ความรู้สึกป่วยเหมือนใกล้ตาย


อาหารที่พบว่าทำให้มีการแพ้ได้ มีอะไรบ้าง 
อาหารที่พบมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย คือ ไข่ นม ถั่วลิสง ถั่ว (Tree nuts) ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ส่วนอาหารอื่นๆได้แก่ งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผลไม้ 
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้อาหารมีอะไรบ้าง

  1. กรรมพันธุ์ พบว่าหากในครอบครัวมีสมาชิกที่เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 หากมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคภูมิแพ้ 2 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80
  2. เผ่าพันธุ์ คนผิวดำที่ไม่ใช่ Hispanic คนเอเชีย และเพศชาย ในเด็ก มีความเสี่ยงสูงในการเกิดการแพ้อาหาร
  3. วิตะมิน ดี การขาดวิตะมิน ดี มีผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหาร
  4. การให้อาหารหลากหลาย การให้อาหารหลากหลายตั้งแต่เป็นทารก อาจจะมีผลป้องกันการแพ้อาหารในช่วงที่เด็กมีอายุมากขึ้น ฯลฯ

อาการแพ้อาหารจะเริ่มเกิดในเด็กในช่วงอายุเท่าใด? อายุเท่าใดอาการจึงจะหายไป? การจัดเตรียมอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดการแพ้อาหารอย่างไรหรือไม่? 
อาหารแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหาร มีช่วงเวลาที่เริ่มเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่แตกต่างกัน มีความรุนแรงแตกต่างกัน และอาการแพ้จะหายไปในช่วงอายุที่แตกต่างกันเช่นกัน การได้รับอาหารหรือการจัดเตรียมอาหารในบางครั้งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการแพ้อาหารแตกต่างกันไป ดังนี้ 
 
อย่างไรก็ดี จากข้อมูลข้างต้น อาการแพ้อาหาร มีอาการตั้งแต่น้อย ปานกลาง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต และพบอาการเริ่มแรกได้ส่วนใหญ่ในวัยเด็ก เมื่อเด็กทารกโตขึ้นถึงอายุหนึ่ง จะทนหรือไม่พบอาการแพ้อาหารโดยเฉพาะ นม ไข่ ถั่วเหลือง และข้าวสาลี แต่การแพ้ถั่วลิสง ถั่ว Tree nuts และอาหารทะเลจะยังคงอยู่ตลอดชีวิต การให้อาหารกับเด็กในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ ควรกระทำอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในกรณีของถั่วลิสง และถั่ว Tree nut ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของอาการแพ้ถึงตายได้ หากไม่แน่ใจ ควรยึดนโยบายหลีกเลี่ยงการกินอาหารนั้นๆไว้ก่อน ในส่วนของส่วนประกอบของอาหาร หากเป็นอาหารสำเร็จรูป ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบจะมีการระบุไว้ที่กล่องหรือฉลาก แต่ในกรณีของร้านอาหาร ภัตตาคาร ควรต้องสอบถามพนักงาน/เจ้าหน้าที่ ให้แน่ใจก่อน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ถือเป็นข้อปฏิบัติ ที่จะเริ่มต้นให้อาหารไข่ และนม ในรูปของอาหารที่ผ่านการให้ความร้อนสูง กับเด็กทารกที่แพ้ไข่หรือนม เพื่อช่วยเร่งการทนอาหารไข่และนมในรูปอื่นๆได้เร็วขึ้น ท้ายที่สุด ควรทำการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องโรคภูมิแพ้ ในการดูแลเด็ก หรือผู้ใหญ่ในครอบครัว 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Kim H, Fischer D. Anaphylaxis. Allergy, Asthma Clinical Immunol 2011; 7 (Suppl 1) 86.
  2. McWilliam V, Koplin J, Lodge C, Tang M, Dharmage S, Allen K. The prevalence of Tree Nut Allergy. Curr Allergy Asthma Rep 2015; 15:54.
  3. Muraro A, Werfel T, Hoffmann-Sommergruber K, Roberts G, Beyer K, Binderlev-Jensen C, et al. Anaphylaxis Guidelines, G. 20141. EAACI food allergy and anaphylaxis guidelines: diagnosis and management of food allergy. Allergy 2014; 69:1008-25.
  4. Sicherer SH, Sampson HA. Food allergy: epidemiology, pathogenesis, diagnosis, and treatment. J Allergy Clin Immunol 2014; 133:291-307.
  5. Sampson HA. Food allergy: Past, present and future. Allergology International 2016; xxx: 1-7.
  6. Savage J, Johns CB. Food allergy: Epidemiology and natural history. Immunol Allergy Clin North Am 2015; 35(1):45-59.
  7. Sicherer SH, Sampson HA. Food allergy: epidemiology, pathogenesis, diagnosis, and treatment. J Allergy Clin Immunol 2014; 133:291-307.
  8. Simons FE, Sampson HA. Anaphylaxis: unique aspects of clinical diagnosis and management in infants (birth to age years). J Allergy Clin Immunol 2015; 135:1125-31.
  9. Soller L, Ben-Shoshan M, Harrington DW, Fragapane J, Joseph L, St. Pierre Y, et al. Overall prevalence of self-reported food allergy in Canada. J Allergy Clin Immunol 2012; 130:986-8.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 10 วินาทีที่แล้ว
ท้องผูกจากยา 32 วินาทีที่แล้ว
ผมหงอก ... หัวหงอก ... ผมขาว 38 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้