Eng |
นศภ. สุวเนตร์ มงคลการ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาการปวดท้องน้อย ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นกลุ่มอาการเริ่มต้นของการมีประจำเดือน ซึ่งมีชื่อว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้
สาเหตุการเกิด PMS
สาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำอาการของ PMS มีดังนี้
อาการที่พบบ่อยได้แก่ บวม เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ รับประทานมากขึ้น สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน
อันตรายจาก PMS มีหรือไม่?
ความรุนแรงของ PMS สามารถเพิ่มระดับจนพัฒนาเป็น PMDD โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่า PMS คือ มีอารมณ์ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หดหู่ใจ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย หรืออยากทำร้ายผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างรีบด่วน
อาการของ PMDD
ถ้าถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็น PMDD ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การรักษาและการดูแลสุขภาพโดยรวม
ทำสมุดบันทึกการมีรอบเดือนและจดรายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ในการบำบัดรักษาในรายที่มีอาการรุนแรง
การรักษาโดยไม่ใช้ยา | การรักษาโดยใช้ยา | การรักษาโดยการใช้ฮอร์โมน |
แนะนำหลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ สุรา หลีกเลี่ยงของหวาน อาหารเค็ม อาหารรสจัด | กลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้า คลายกังวล ช่วยลดอาการหงุดหงิด เศร้า หรือก้าวร้าว | ใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิงที่มีฮอร์โมนต่ำ เช่น ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล จะช่วยลดอาการทางกายได้ |
รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช | โดยการสั่งจ่ายยาในกลุ่มนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ | - |
ออกกำลังกายประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากการออกกำลังกายทำให้ร่างกายผลิตสารเอ็นโดฟิน (endorphine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีความสุขและช่วยลดความเครียด | ยาแก้ปวดรับประทานตามอาการ | - |
รับประทานวิตามินบี 6 วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียม ตามคำแนะนำของแพทย์ | - | - |
นอนพักให้เพียงพอ ลดความเครียด | - | - |
นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยใช้จิตบำบัด (psychotherapy)