เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยาฆ่าเชื้อกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร


นศภ. ชนัญญา สุขโสภณ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 410,693 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 26/10/2557
อ่านล่าสุด 8 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


“ปวดหัว ตัวร้อน มีไข้สูงขณะตั้งครรภ์ มียาแก้อักเสบอยู่ที่บ้านรับประทานได้ไหมค่ะ?” “ ต้องให้นมลูก แต่ไม่สบายมากทำยังไงดีค่ะ” คำถามเหล่านี้แสดงให้เห็นโดยทั่วกันว่า มารดาเมื่อตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่นั้นให้ความสำคัญและมีความระมัดระวังต่อการใช้ยาค่อนข้างมาก เนื่องจากยาจำนวนไม่น้อยสามารถผ่านสายรก หรือละลายน้ำแล้วขับออกทางน้ำนม ซึ่งอาจส่งผลผลกระทบต่อทารกในครรภ์หรือต่อทารกที่ดื่มนมแม่อยู่ได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ยาทุกตัวที่สามารถผ่านสายรก หรือขับออกทางน้ำนมและส่งผลต่อทารก ดังนั้น การเลือกใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรจึงมีความซับซ้อน ยาที่ร้านยามักจ่ายเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายและค่อนข้างมีปัญหาในการเลือกใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่พบได้บ่อยคือ“ยาปฏิชีวนะ” 
ยาปฏิชีวนะ หรือที่ชาวบ้านคุ้นเคยที่เรียกกันว่า “ยาฆ่าเชื้อ” บางครั้งเรียกกันผิดๆ ว่า “ยาแก้อักเสบ” เป็นยาที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจากภาวะติดเชื้อของร่างกาย ยาปฏิชีวนะที่เป็นยารับประทานมีอยู่หลายกลุ่ม ดังตารางต่อไปนี้ 
 
 
 
 
โดยสรุปแล้วยากลุ่ม Penicillinและ Cephalosporin ค่อนข้างมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ถ้ามีประวัติแพ้ยากลุ่มดังกล่าว ควรเปลี่ยนเป็นยากลุ่ม Clindamycin หรือ Macrolide เช่น Erythromycin และ Azithromycin ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามหากมีข้อสงสัยในการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Alexander JF, Caruther RL, Cash J, Al-jazairi A, Alqadheeb A, Cavallari LH, et al. Drug information handbook international. 22nd ed. Ohio: lexi-comp; 2013.
  2. Brigg GG, Freeman RK, Yaffe SJ. Drug in Pregnancy and Lactation. 9th ed. Philadelphia: Lippincott williams & wilkins; 2011.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


วัณโรคระยะแฝง 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้