เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 9


รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 16,556 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 29/07/2555
อ่านล่าสุด 2 วันที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

หลอดบีบปิดผนึก 
1. หลอดบีบโลหะปิดผนึก 
ส่วนล่างของหลอดบีบโลหะจะถูกปิดผนึกโดยการพับปลาย (end folding) แบบใดแบบหนึ่ง ยกตัวอย่างดังรูปที่ 1(ก) และ (ข) และ/หรือการกดจีบ (crimping) เมื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์จะต้องทิ้งร่องรอยการแตกหักหรือการแกะ โดยไม่สามารถทำให้กลับตรงหรือพับกลับได้ ตรงปากหลอดจะต้องปิดผนึกหรือปิดแผ่นเยื่อเมมเบรน ซึ่งจะต้องฉีกขาดหรือเป็นรอยเจาะเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์1, 2 มีการใช้แผ่นกลมอลูมิเนียมความหนา 0.003 – 0.005 นิ้ว ปิดผนึกตรงหลอดเพื่อทำหน้าที่ต้านการแกะ3 เมื่อเวลาเข้าถึงผลิตภัณฑ์ให้ใช้ปลายเข็ม (puncture) ตรงส่วนบนของฝาดังรูปที่ 1(ค) เจาะผนึกอลูมิเนียมให้ขาดซึ่งเป็นการบ่งชี้ร่องรอยการเปิดผนึก อย่างไรก็ตามหลอดบีบที่ขึ้นรูปโดยวิธีตอกรีดในแม่พิมพ์ จากเหรียญอลูมิเนียมผสมดีบุกที่ไม่มีรูตรงกลาง (solid billet) นั้น ไม่จำเป็นต้องปิดผนึกตรงปากหลอด เพราะขึ้นรูปได้แผ่นกลมปิดปากหลอดบีบนั่นเองดังแสดงในรูปที่ 1 (ก) 

2. หลอดบีบพลาสติกหรือลามิเนตปิดผนึก 
ส่วนล่างของหลอดบีบพสาสติกหรือลามิเนตจะถูกปิดผนึก โดยการปิดผนึกด้วยความร้อน (heat sealing) ซึ่งอาจใช้ความร้อนแบบเหนี่ยวนำ (induction sealing)4, 5 และการกดจีบ (crimping) เมื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์ จะต้องทิ้งร่องรอยการแตกหักหรือการแกะ ตรงปากหลอดจะต้องปิดผนึกหรือปิดแผ่นเยื่อเมมเบรน ซึ่งจะต้องฉีกขาดหรือเป็นรอยเจาะเพื่อเข้าถึงผลิตภัณฑ์1, 2 ดังรูปที่ 2 (ข) มีการใช้แผ่นกลมอลูมิเนียมบางๆ ปิดผนึกตรงปากหลอดเพื่อทำหน้าที่ต้านการแกะเช่นเดียวกับหลอดบีบโลหะ6 

3. กระป๋อง 
กระป๋องที่ใช้มีทั้งชนิดที่ผนังทำด้วยโลหะทั้งหมด และชนิดที่ผนังทำด้วยโลหะประกอบกับวัสดุอื่น มีการประกบกันระหว่างส่วนบนและส่วนล่าง ซึ่งการต่อเชื่อมจะต้องไม่สามารถแยกออกจากกันและกลับประกอบใหม่ หากต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง โดยการแยกส่วนบนและล่างออกจากกันและกลับประกอบใหม่ จะต้องทิ้งร่องรอยการแกะที่เห็นได้ การแสดงฉลากจะต้องพิมพ์โดยตรงบนกระป๋อง ไม่ควรใช้ฉลากแบบแยกส่วนที่ใช้การแปะติด1, 2

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. US FDA CPG Sec. 450.500 Tamper-resistant packaging requirements for certain over-the-counter human drug products.
  2. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  3. A look at 11 solutions to OTC tamper packages. Package engineering, Cahners 1982; 27(13).
  4. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  5. Induction sealing. Wikipedia, the free encyclopedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Induction _sealing).
  6. BLESSMYBAG. (http://blessmybag.com/2011/01/05/embryolisse-big-new-year-giveaway/).
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้