Eng |
ในปัจจุบัน หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตในระดับสากลนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาในการศึกษาเพิ่มเติมจาก 5 ปี เป็น 6 ปี โดยสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากความท้าทายที่เกิดขึ้นในโลกศตวรรษที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้านเภสัชกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในทักษะที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงปรับปรุงหลักสูตรจาก 5 ปี เป็น 6 ปี โดยมีหน่วยกิตรวมทั้งหมด 220 หน่วยกิต รวมทั้งยังต้องมีชั่วโมงการฝึกงานไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง เพื่อให้ได้มาตรฐานตามสภาเภสัชกรรม โดยหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เพื่อสร้างเสริมความมั่นใจในการพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษา โดยหลักสูตรใหม่นี้ นักศึกษาจะมีองค์ความรู้และทักษะต่างๆ ในขั้นพื้นฐานรวมถึงองค์ความรู้และทักษะในด้านที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษไม่ว่าจะเป็นทางเภสัชกรรมหรือทางอุตสาหกรรม บุคลากรที่จบจากหลักสูตรนี้ก็จะร่วมกันพัฒนาวงการเภสัชกรรมและเภสัชศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป
ระบบการศึกษาของคณะเภสชัศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น ใน 1 ปีการศึกษา ประกอบไปด้วย 2 เทอม ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดไว้สำหรับผู้เรียนในระดับก่อนบัณฑิตศึกษา และระดับบัณฑิตศึกษา โดยนักศึกษาต้องเข้าเรียนในรูปแบบของนักศึกษาเต็มเวลาตามข้อกำหนดมาตรฐานแห่งชาติสำหรับบัณฑิตศึกษาในปี พ.ศ. 2548 โดยกระทรวงศึกษาธิการ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะทางด้านเภสัชศาสตร์ตามเกณฑ์มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยบัณฑิตเภสัชศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
กรุณาตรวจสอบจำนวนนักศึกษาที่รับในแต่ละปีซึ่งจะแตกต่างกันไป โดยสามารถดูรายละเอียดล่าสุดในแต่ละปีได้ที่ https://www.mytcas.com/ และที่ https://tcas.mahidol.ac.th/