หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เภสัชวิทยาคลินิกในระบบทางเดินอาหารของ peppermint oil

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน สิงหาคม ปี 2548 -- อ่านแล้ว 40,648 ครั้ง
 
Peppermint oil สกัดจากใบสดของ peppermint ช่วยการหดตัวรักษาความผิดปกติของกล้ามเนื้อทางเดินอาหารได้ จึงมีการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์และเภสัชพลศาสตร์ของ peppermint oil ต่อระบบทางเดินอาหาร โดยศึกษาจาก 9 ศึกษาที่มีผู้ร่วมการศึกษาทั้งหมด 269 คน มีทั้งที่ได้รับ peppermint oil โดยการรับประทานและให้โดยตรงที่บริเวณทางกระเพาะหรือ colon วิธีการให้ยามีทั้งแบบให้ครั้งเดียวและให้ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ พบว่า peppermint oil ออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว ( 0.5 นาทีหลังการให้ peppermint oil แบบโดยตรง) แต่มีฤทธิ์สั้นประมาณ 20 นาที และพบว่า peppermint oil ใช้เวลาเดินทางจากปากถึงลำไส้ยาว ทั้งเมื่อให้แบบเฉียบพลันและระยะยาว peppermint oil ในขนาดต่ำ ( 90 mg, ประมาณ 0.1 ml) ไม่มีผลต่อ gastric emptying time แต่ในขนาดตั้งแต่ 0.2 ml จะลด gastric emptying time ลงอย่างชัดเจน สำหรับอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ heartburn ซึ่งเกิดเมื่อให้ peppermint oil โดยการรับประทานในขนาดสูงจนมีการปล่อย peppermint oil ออกสู่ทางเดินอาหารส่วนบน เนื่องจากสารสำคัญของ peppermint oil คือ menthol ที่ละลายได้ดีในไขมัน ทำให้ peppermint oil ถูกดูดซึมที่บริเวณทางเดินอาหารส่วนบนได้อย่างรวดเร็ว แต่การให้ peppermint oil รักษาการหดตัวผิดปกติของลำไส้ในผู้ป่วย irritable bowel syndrome (IBS)อวัยวะเป้าหมายอยู่ที่ทางเดินอาหารส่วนล่าง ฉะนั้นรูปแบบของ peppermint oil จึงควรอยู่ในรูป enteric coat เพื่อให้ peppermint oil ไม่ดูดซึมที่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินอาหารได้
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้