การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายจุลชีววิทยา) ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ** ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
5,329 ครั้ง เมื่อ 3 นาทีที่แล้ว | |
2022-08-03 |
โรคติดเชื้อเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อก่อโรคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณเพียงพอจนสามารถก่อโรคได้ โดยเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การกลืนกิน การหายใจ หรือการสัมผัสผิวหนัง โดยหนึ่งในช่องทางแพร่เชื้อที่สําคัญ คือ การแพร่ผ่านตัวกลางที่ไม่มีชีวิต ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อมด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อทําความสะอาดเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อจากสภาพแวดล้อม1
ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการนํามาใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจําวัน เช่น ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาดฆ่าเชื้อโรค พื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ โถสุขภัณฑ์ของอาคารบ้านเรือนทั่วไปและโรงพยาบาล
ตามประกาศของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคสามารถแบ่งเป็น กลุ่มได้ 5 กลุ่ม2 ดังนี้
จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อ Corona virus (COVID-19) ทำให้มีความต้องการผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วน และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ผลิตและจำหน่ายเป็นจำนวนมาก บางครั้งการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำได้ไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภค มูลนิธิอาจารย์เกษม ปังศรีวงศ์ ร่วมกับภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดทำโครงการ การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคเพื่อสำรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ขายอยู่ในประเทศไทยจากแหล่งจำหน่ายทั่วไป และแหล่งจำหน่ายแบบออนไลน์ โดยได้ทำการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อทั้งหมดจำนวน 105 ตัวอย่าง แบ่งเป็น benzalkonium chloride 14 ตัวอย่าง chloroxylenol 4 ตัวอย่าง hydrogen peroxide 9 ตัวอย่าง และแอลกอฮอล์ซึ่งรวมทั้งเอทิลแอลกอฮอล์และไอโซโพรพานอลจำนวน 78 ตัวอย่าง จากนั้นทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญด้วยวิธีที่เหมาะสมทั้งที่ระบุในเภสัชตำรับและวิธีที่พัฒนาขึ้นเอง โดยได้ผลการวิเคราะห์ดังนี้
นอกจากนี้จากการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ทำความสะอาดทั้งหมด 78 ตัวอย่างที่ซื้อมาจากช่องทางต่างๆ เช่นร้านยา ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าออนไลน์ พบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.0 มีข้อมูลระบุเลขทะเบียนผลิตภัณฑ์ วันผลิต วันหมดอายุ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย บนฉลาก
ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ที่จำหน่ายในประเทศไทยปัจจุบันมีเลขทะเบียน 2 ประเภทคือ
ผลิตภัณฑ์ที่มีขายในช่องทางต่างๆ ส่วนใหญ่จะจดแจ้งเป็นเครื่องสำอางซึ่งขั้นตอนการจดแจ้งเพื่อให้ได้หมายเลขจดแจ้งไม่ยุ่งยากเท่าการขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน หลักเกณฑ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางโดยทั่วไปจะพิจารณาจากเอกสารข้อมูลส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ และต้องไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารที่ห้ามใช้ โดยไม่มีการตรวจสอบด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตที่ต้องผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อมูลที่จดแจ้งไว้
สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์จะผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานและมีขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพก่อนออกจำหน่าย จึงพบว่าปริมาณสาระสำคัญคือ ethanol และ isopropanol ในผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานมีปริมาณแอลกอฮอล์สอดคล้องกับความเข้มข้นที่แจ้งบนฉลากผลิตภัณฑ์นั้น ในโครงการนี้มี 4 จาก 78 ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบันโดยทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่า 70% โดยปริมาตร
ผลิตภัณฑ์ 13 จาก 78 ตัวอย่างที่ตรวจพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ไม่ถึง 70% โดยปริมาตรนั้น ทุกผลิตภัณฑ์จดแจ้งเป็นเครื่องสำอางที่ผลิตจากบริษัทผลิตเครื่องสำอางหรือจากผู้ผลิตรายย่อย และ 3 จาก 13 ผลิตภัณฑ์พบข้อมูลจาก application Oryor (อย. ตรวจเลข) ว่ามีการยกเลิกแล้ว และมี 1 ตัวอย่างที่พบว่าข้อมูลบนฉลากไม่ตรงกับข้อมูลที่แจ้งไว้กับ อย.
กระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามในการที่จะควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ที่ใช้ทำความสะอาดมือแทนการล้างมือโดยการออกประกาศในปี พ.ศ.2562 ให้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือแพทย์แต่ด้วยสถานการณ์โรคระบาดทำให้ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ขาดตลาดและมีราคาแพงขึ้น ประชาชนมีความต้องการซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจึงได้มีการยกเลิกประกาศดังกล่าวในปี พ.ศ.2563 และอนุญาตให้ขอจดแจ้งเป็นเครื่องสำอางได้ตามเดิม ทำให้บริษัทผลิตเครื่องสำอางรวมทั้งผู้ผลิตรายย่อยที่อาจมีสถานที่ผลิตไม่เหมาะสมสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายได้
จากข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถสรุปได้ว่าผู้บริโภคหรือประชาชนทั่วไปที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคเช่นผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์มาใช้ ควรต้องตรวจสอบดังนี้
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 1 วินาทีที่แล้ว | |
หญ้าปักกิ่ง 1 นาทีที่แล้ว | |
การนอน .. เพื่อชะลอวัยและเพื่อสุขภาพ 1 นาทีที่แล้ว | |
ชาร้อน ชาเย็น ประโยชน์/โทษ ต่อสุขภาพ 1 นาทีที่แล้ว | |
วิตามินและแร่ธาตุ 1 นาทีที่แล้ว | |
เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี 1 นาทีที่แล้ว | |
ยาปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและแนวทางการป้องกันตนเอง 1 นาทีที่แล้ว | |
เกิร์ด (GERD) - โรคกรดไหลย้อน 1 นาทีที่แล้ว | |
ออกกำลังกายอย่างไรดี ? 1 นาทีที่แล้ว | |
น้ำเกลือแร่สำหรับท้องเสีย: เลือกที่ใช่ ใช้ถูกต้อง 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome