Loading…

ประวัติความเป็นมา



กว่าจะมาเป็นเภสัชมหิดล

10 มีนาคม พ.ศ. 2485

สถาปนา “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบการกระทรวงการสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนที่ 16 เล่มที่ 59 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485

7 มิถุนายน พ.ศ.2511

วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2511 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และ คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ใน “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” เพิ่มขึ้นอีก 2 คณะขึ้นตามนโยบายและโครงการของรัฐบาล ในแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510-2514 ด้านการแพทย์ ซึ่งต้องการเพิ่มการผลิตทันตแพทย์และเภสัชกร (เดิมมีคณะเภสัชศาสตร์อยู่แล้วคณะหนึ่ง ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปัจจุบัน จึงได้กำหนดชื่อคณะเภสัชศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ที่ถนนศรีอยุธยา ตำบลพญาไท ว่าคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท)

13 ตุลาคม พ.ศ.2511

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2511 สำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้ง ศาสตราจารย์นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ ซึ่งขณะนั้นเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และรักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ให้รักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท “มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์” อีกตำแหน่งหนึ่ง

2 มีนาคม พ.ศ. 2512

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานนาม “มหิดล” ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย โดยยกเลิกกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล

1 ตุลาคม พ.ศ.2513

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2513 สภามหาวิทยาลัยมหิดล มีคำสั่งที่ 593/2513 แต่งตั้ง นายไฉน สัมพันธารักษ์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแต่งตั้งนายประดิษฐ์ หุตางกูร ให้รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล อีกตำแหน่งหนึ่ง

25 มกราคม พ.ศ.2515

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2515 อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล

13 เมษายน พ.ศ. 2515

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติให้จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้โอนคณะเภสัชศาสตร์เดิมไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2515 เป็นต้นไป ทำให้เหลือคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท อยู่เพียงคณะเดียวในมหาวิทยาลัยมหิดล

15 พฤศจิกายน พ.ศ.2515

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหิดล มีมติอนุมัติให้คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ตัดคำว่า “พญาไท” ออก ชื่อ “คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” จึงปรากฏใช้จนถึงทุกวันนี้

ทำเนียบคณบดี

1. ศาสตราจารย์ ชัชวาล โอสถานนท์ (รักษาการ) พ.ศ. 2511-2513
2. อาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร (รักษาการคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท) พ.ศ. 2513-2515
3. อาจารย์ ประดิษฐ์ หุตางกูร พ.ศ. 2515-2526
4. ศาสตราจารย์(พิเศษ) สุคนธ์ พูนพัฒน์ พ.ศ. 2526-2530
5. รองศาสตราจารย์ ปราณี ใจอาจ พ.ศ. 2530-2534
6. รองศาสตราจารย์ พจนีย์ สุริยะวงศ์ พ.ศ. 2534-2536
7. รองศาสตราจารย์ จันทรา ชัยพานิช พ.ศ. 2536-2540
8. รองศาสตราจารย์  อรพรรณ มาตังคสมบัติ พ.ศ. 2540-2544
9. ศาสตราจารย์ สมพล ประคองพันธ์ พ.ศ. 2544-2546
10. ศาสตราจารย์ ธีรชัย ฉัทโรจน์ศิริ (รักษาการ) พ.ศ. 2546-2547
11. ศาสตราจารย์ สมพล ประคองพันธ์ พ.ศ. 2547
12. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ พ.ศ. 2547
13. ศาสตราจารย์ อำพล ไมตรีเวช พ.ศ. 2547-2551
14. รองศาสตราจารย์ จุฑามณี สุทธิสีสังข์ พ.ศ. 2551-2559
15. รองศาสตราจารย์ สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล พ.ศ. 2559-2563
16. รองศาสตราจารย์ สุรกิจ นาฑีสุวรรณ พ.ศ. 2563-ปัจจุบัน
เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
สารจากคณบดี ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม ผังและโครงสร้างการบริหาร ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ข้อมูลบุคลากร ภาควิชาและหน่วยงาน รางวัลแห่งความภาคภูมิ

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา