Loading…

เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี

เปลี่ยนยาคุมกำเนิด ... ทำอย่างไรดี

เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

216,286 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว
2015-02-15


ผู้หญิงส่วนใหญ่คงทราบกันดีว่าปัจจุบันมียาคุมกำเนิดหลากหลายชนิดและรูปแบบ แต่สำหรับบางคนเมื่อตัดสินใจเลือกวิธีคุมกำเนิดแบบใดแบบหนึ่งไปแล้ว อาจรู้สึกว่าไม่สะดวกต่อการใช้หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคุมกำเนิดชนิดนั้นในภายหลัง จึงต้องการเปลี่ยนเป็นยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ ซึ่งหลายคนตัดสินใจเปลี่ยนยาคุมกำเนิดด้วยตัวเอง โดยเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดที่ไม่ต้องมีเทคนิคพิเศษในการใช้ยา เพราะเข้าใจว่าคงใช้เหมือนเดิม เช่น หยุด 7 วัน (กรณีในแผงมี 21 เม็ด) หรือ รับประทานจนหมดแผง (กรณีในแผงมี 28 เม็ด) แล้วค่อยเริ่มยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ แต่จริงๆ แล้ว ยาเม็ดคุมกำเนิดแต่ละยี่ห้ออาจมีชนิดและปริมาณของฮอร์โมนแตกต่างกัน ซึ่งการเว้นช่วง (gap) ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้น อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลดลงระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดได้ นอกจากนี้ การเปลี่ยนยาคุมกำเนิดจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น จากยาเม็ดเป็นยาฉีด เป็นต้น ก็ต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนยาเช่นกัน 
 
การเปลี่ยนยาคุมกำเนิด อาจไม่จำเป็นต้องรอให้ประจำเดือนมาก่อน โดยสามารถปฏิบัติดังแสดงในแผนภาพ ซึ่งจะเห็นว่า บางกรณีมีการใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องกันเลยโดยไม่เว้นช่วง หรือบางกรณีจะมีช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันระหว่างวิธีเดิมและวิธีใหม่ ขึ้นกับชนิดและรูปแบบของยา ทั้งนี้ เพื่อให้ยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ออกฤทธิ์ได้เต็มที่และยาชนิดเดิมหมดฤทธิ์ไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเปลี่ยนยาคุมกำเนิด ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เช่น ถุงยางอนามัย เป็นต้น 
แต่หากไม่สามารถปฏิบัติตามวิธีข้างต้น เช่น กำลังรับประทานเม็ดที่ไม่ใช่ฮอร์โมน (เม็ดยาหลอกในแผงยาฮอร์โมนรวมที่มี 28 เม็ด) หรืออยู่ในช่วงรอให้ประจำเดือนมา หรือประจำเดือนมาแล้ว เป็นต้น จะต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย หรืองดมีเพศสัมพันธ์ ใน 7 วันแรกของการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ 
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางการแพทย์ในทุกสาขาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเนื่องมาจากผลการศึกษาของงานวิจัยใหม่ๆ ดังนั้น หากต้องการเปลี่ยนยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและช่วยวางแผนการเปลี่ยนยาคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม


 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Lesnewski R, Prine L, Ginzburg R. Preventing gaps when switching contraceptives. Am Fam Physician. 2011;83(5):567-570.
  2. How to Switch Birth Control Methods. Am Fam Physician. 2011;83(5):575-576.
  3. ORTHO EVRA® prescribing information. Available from http://www.orthoevra.com/sites/default/files/assets/OrthoEvraPI.pdf

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

พาราเซตามอล (paracetamol) รักษาปวดได้ทุกอย่างจริงหรือ? 5 วินาทีที่แล้ว
สับปะรด : ผลไม้รักษาโรค 9 วินาทีที่แล้ว
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร 15 วินาทีที่แล้ว
อาหารหลากสี มีประโยชน์หลากหลาย (ตอนที่ 3): สารเคมีที่มีประโยชน์จากผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน 17 วินาทีที่แล้ว
ยาเลื่อนประจำเดือน .. ที่นี่มีคำตอบ 19 วินาทีที่แล้ว
น้ำเกลือแร่สำหรับท้องเสีย: เลือกที่ใช่ ใช้ถูกต้อง 24 วินาทีที่แล้ว
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 2: มาตรฐานทางกายภาพของยาเม็ดสมุนไพร 31 วินาทีที่แล้ว
ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากและเกลื้อน 31 วินาทีที่แล้ว
เครื่องวัดความดันโลหิต 34 วินาทีที่แล้ว
ท้องผูกและการใช้ยาระบาย 40 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา