คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา

คุณสมบัติทั่วไป

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะ ตามระเบียบการสอบคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือ ระเบียบการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัยมหิดลระบบรับตรง รวมทั้งตามระเบียบข้อบังคับอื่นๆ ของการรับผู้เข้าศึกษากรณีพิเศษที่ผ่านการอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว

  1. ผู้สมัครทุกโครงการ ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. ผู้สมัครต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) 4 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 3.00 ยกเว้น ผู้สมัครโครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75
  3. ไม่มีตาบอดสีขั้นรุนแรง
  4. ไม่มีปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางจิตที่เป็นอุปสรรค ต่อการศึกษาและการประกอบวิชาชีพ

คุณสมบัติเฉพาะโครงการ (เฉพาะรับตรง)

โครงการวิทยาเขต

  1. เป็นนักเรียนที่ผ่านการศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-5 และกำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนที่อยู่ในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียงกับที่ตั้งของวิทยาเขตของ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มมีจังหวัดดังนี้
    • กลุ่มกาญจนบุรี ได้แก่ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และสุพรรณบุรี
    • กลุ่มนครสวรรค์ ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์
    • กลุ่มอำนาจเจริญ ได้แก่ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร
    • โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
  2. ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์

โครงการส่งเสริมความถนัดทางวิชาชีพ

  1. ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
  2. สอบความถนัดทางวิชาชีพ จัดสอบโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันสอบสัมภาษณ์
  3. ต้องมีแฟ้มสะสมงาน (Port Folio) และผลงานการปฏิบัติ โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายฉบับเต็ม แสดงในวันสอบสัมภาษณ์
  4. เขียนเรียงความ 1 หน้ากระดาษ A4 ด้วยตนเองโดยแสดงเหตุผลและแรงจูงใจ ที่ต้องการเรียนวิชาชีพเภสัชศาสตร์ แสดงในวันสอบสัมภาษณ์

โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ด้านกีฬา

  1. ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
  2. เฉพาะ 22 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเลย์บอล กอล์ฟ ซอฟท์บอล ตะกร้อ ดาบสากล เทควันโด เทนนิส เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ยิงปืน ยูโด รักบี้ฟุตบอล เปตอง เรือพาย ลีลาศ บริดจ์ หมากกระดาน และขี่ม้า ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2554 ถึงวันที่ยื่นใบสมัคร ทั้งนี้ โดยมีผลงานประเภทใดประเภทหนึ่ง ดังนี้
    • เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับชาติโดยได้รับการรับรองหรือ แต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นนักกีฬาทีมชาติไทย ได้แก่ กีฬาชิง ชนะเลิศของโลก กีฬาโอลิมปิก กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ กีฬาชิงชนะเลิศเอเชีย กีฬา ซีเกมส์ หรือ
    • เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันกีฬาระดับเยาวชนนานาชาติโดยได้รับ การรับรองหรือแต่งตั้งจากการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นนักกีฬาเยาวชนทีม ชาติไทย ได้แก่ กีฬาเยาวชนชิงแชมป์โลก กีฬาเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย หรือ
    • เป็นผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1 ถึงที่ 3 ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ หรือ
    • เป็นผู้แทนนักกีฬานักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน ชิงชนะเลิศแห่ง เอเชี่ยนโดยได้รับการรับรองจากกรมพลศึกษา หรือ
    • เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกโดยได้รับการ รับรองจากคณะกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ก.ก.ม.ท.) ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาผู้สมัครที่มีผลงานการแข่งขันกีฬาในชนิดกีฬาที่มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบตามคุณสมบัติข้างต้น การตัดสินชี้ขาดของมหาวิทยาลัยมหิดลถือเป็นที่สิ้นสุด

โครงการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ด้านวิชาการ

  1. ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
  2. ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกในลำดับที่ 1-30 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขัน ระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและมาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาใน พระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (โครงการโอลิมปิกมูลนิธิ สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาเคมี สาขา คณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาชีววิทยา สาขาคอมพิวเตอร์ หรือสาขา ดาราศาสตร์ หรือ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) ให้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันเคมี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

โครงการพัฒนาเภสัชกร

  1. มีบิดา หรือมารดา เป็นผู้ได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1)
  2. ต้องสอบผ่านข้อเขียนที่จัดสอบโดยใช้ข้อสอบรับตรงร่วมของ สทศ. เรียงลำดับตามคะแนนสอบรวม 7 รายวิชา โดยมีคะแนนสอบไม่น้อยกว่า 45 เปอร์เซ็นต์
General Information Credit requirement Study Plan Example of course specification Scholarship Opportunity for international internship Students Activities Facilities and Infrastructure Job Opportunities Voices form our stakeholders

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.