Knowledge Article


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 8


รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ เจตลีลา
ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
21,688 View,
Since 2012-01-29
Last active: 10h ago

Scan to read on mobile device
 
A - | A +
กล่องผนึกฝา

กล่องเป็นบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิซึ่งไม่สัมผัสโดยตรงกับยา มีประโยชน์สำหรับยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ใช้ในลักษณะการบริการตนเองของลูกค้า เพราะให้ขีดความสามารถในการนำเสนอสินค้า ให้ความแข็งแรงในการป้องกันผลิตภัณฑ์ที่แตกง่าย และสามารถแสดงฉลากได้มากตามต้องการเหนือภาชนะที่ใช้บรรจุยาโดยตรง ปัจจุบันนี้ มีการนำกล่องพับมาใส่ภาชนะบรรจุยา1

การใช้กล่องแบบสอดปลายฝากล่อง (tuck end carton) ดังแสดงในรูปที่ 1(A) ไม่เป็นที่นิยมในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ต้านการแกะ หากจำเป็นต้องใช้จะต้องอาศัยการต้านการแกะแบบที่ถูกต้องมาร่วม คือ การใช้ห่อแบบฟิล์มหด การผนึกด้วยเทปหรือกาว สำหรับกล่องที่เหมาะสมจะเป็นกล่องแบบผนึกฝา (seal end carton)1, 2 การปิดผนึกอาจใช้กาวหรือวิธีหลอมร้อนของพอลิเมอร์หรือโคพอลิเมอร์ที่เหมาะสม1, 3 นอกจากนี้ยังสามารถกันฝุ่นดี เพราะมีปีกกันฝุ่น (dust flap) 2 ด้าน รวมทั้งการปิดผนึกของฝากล่องทั้งสอง2

ภาชนะบรรจุแอโรซอล

ภาชนะบรรจุแอโรซอลที่ใช้สำหรับเภสัชผลิตภัณฑ์ ปรกติทำด้วยเหรียญอลูมิเนียมที่ถูกดึงหรือรีดให้ขึ้นรูปเป็นภาชนะ มีการเคลือบภายในภาชนะหากมีปัญหาความไม่เข้ากันกับผลิตภัณฑ์ สารที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นละอองฝอยเมื่อฉีดพ่นคือ สารขับดันไฮโดรคาร์บอนซึ่งจะอยู่ในสถานะของเหลวขณะเย็นลง และใช้เติมลงในภาชนะพร้อมกับผลิตภัณฑ์ หัวฉีดจะประกอบอยู่ในปลอกโลหะติดประเก็นซึ่งถูกกดจีบบนปากภาชนะ หลอดจุ่มเป็นหลอดพอลิเอธิลีนความยาวเหมาะสม นำมาจุ่มในผลิตภัณฑ์และต่อแนบกับหัวฉีดซึ่งจะดึงผลิตภัณฑ์ขึ้นไปเมื่อเปิดหัวฉีดพร้อมทำงาน (activated) มีการทำให้หัวฉีดวัดขนาดฉีดจำเพาะของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ปริมาณที่พ่นจ่ายออกมาได้ตามต้องการ ภาชนะบรรจุแอโรซอล จึงมีคุณลักษณะต้านการแกะโดยการการออกแบบการใช้งานนั่นเอง1, 4, 5 การแสดงฉลากจะต้องพิมพ์ฉลากโดยตรงบนกระป๋อง จะต้องไม่ใช้ฉลากกระดาษ เพราะสามารถลอกออกได้และปิดฉลากใหม่แทน4

เอกสารอ้างอิง

  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.
  2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์. Collaborative Learning for Packaging Design Using VR and KM. (http://innomedialab.com/covrkm/E-learning/s13.html).
  3. Kauffman TF, Puletti PP. Bonding method employing sprayable hot melt adhesives for case and carton sealing. United States Patent 4956207.
  4. Code of practice for the tamper-evident packaging (TEP) of therapeutic goods, 1st ed Department of Health and Aging, Australian Government. June 2003.
  5. Sciarra JJ, Cutie NJ. Pharmaceutical aerosols. In: In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 589-618.
  6. Harris T. How aerosol cans work. HowStuffWorks. (http://science.howstuffworks.com/innovation/everyday-innovations/aerosol-can3.htm)
Others articles

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

Public Knowledge Articles



View all articles
-->

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

Faculty of Pharmacy, Mahidol University.

447 Sri-Ayuthaya Road, Rajathevi, Bangkok 10400, THAILAND
Designed & Developed by Department of Information Technology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University.
Copyright © 2013-2020
 

We use Cookies

This site uses cookies to personalise your experience and analyse site traffic. By Clicking ACCEPT or continuing to browse the site you are agreeing to our use of cookies.