ไทย |
การนำทองคำมาใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
จากหลักฐานทางการวิทยาศาสตร์ พบว่าโลหะทองคำบริสุทธิ์ จะไม่มีปฏิกิริยากับสารเคมีใดๆหรือต่อเซลของร่างกายเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรืออาการข้างเคียง สหภาพยุโรป หรือ อียู ได้รับรองและอนุญาตให้ทองคำจัดอยู่ในกลุ่มสารเติมแต่งผสมในอาหารได้ (Food Additives) ในประเทศเยอรมนีและยุโรปหลายประเทศ มีการนำแผ่นทองคำเปลวหรือในรูปผงบดละเอียดมาประยุกต์ใช้ตกแต่งอาหาร รวมทั้งการผสมในเครื่องดื่มยี่ห้อเก่าแก่ เช่น Goldschl?ger, Gold Strike, and Goldwasser. ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเครื่องดื่มสุขภาพที่แพงจัด ในประเทศทางแถบเอเชีย เช่น บาหลี มีการนำทองคำมาผสมในการทำขนมหวาน อย่างไรก็ตามเนื่องจากโลหะทองคำมีคุณสมบัติเฉื่อย จึงไม่มีปฏิกิริยากับสิ่งแวดล้อมในร่างกาย ดังนั้นจึงไม่มีรสชาด และไม่มีคุณค่าทางอาหาร และจะถูกขับออกจากร่างกายได้โดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงใดๆ
การนำมาใช้ทางการแพทย์
เป็นความเชื่อของคนยุคโบราณว่าทองคำมีศักยภาพของการสมานโรค (Healing power) ช่วยให้สุขภาพที่แย่ดีขึ้น ทางการแพทย์ได้มีการทดลองนำแร่ทองคำมาเตรียมให้อยู่ในรูปของเกลือ (Gold salts) พบว่าอนุพันธ์ดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอาการอับเสบและบวมช้ำของโรคเก๊า (Rheumatoid arthritis) ซึ่งได้มีการทดลองนำมารักษาโรคดังกล่าวไม่น้อยกว่า 80 ปีที่ผ่านไป กลไกยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่าแร่ทองคำสามารถต้านอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้นจากข้อกระดูกที่อักเสบ ทำให้บรรเทาความเจ็บปวดและบวมช้ำได้ผล อย่างไรก็ตามการฉีดแร่ทองคำในรูปแบบของเกลือหรือโกลด์ซอล์ท จะก่อให้เกิดอันตรายข้างเคียงในการยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวได้ และยังมีผลสะสมในตับและไตอีกด้วย ผู้ที่ได้รับการรักษาจึงควรจะคอยตรวจเช็คเลือดอย่างสม่ำเสมอ
การประยุกต์ใช้ทางเครื่องสำอางเพื่อลดเลือนริ้วรอย
จากการค้นพบทางการแพทย์ว่า ทองคำสามารถต้านอนุมูลอิสสระได้และส่งผลให้เกิดกลไกในการต้านอาการอักเสบของข้อกระดูกในโรคเก๊าได้ผลดี ทำให้นักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเชื่อว่า ด้วยกลไกเดียวกันนี้โลหะทองคำน่าจะมีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสสระของผิวหนังและต้านอาการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากรังสียูวีได้ จึงมีการนำทองคำมาประยุกต์ใช้ผสมในเครื่องสำอางที่มีราคาแพงในรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ของการยืดอายุผิวพรรณและลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย ปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดทางวิทยาศาสตร์ว่าประสิทธิภาพการชะลออายุผิวพรรณเมื่อใช้ทองคำเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆว่าจะคุ้มราคาหรือไม่
ความเป็นพิษและอาการข้างเคียง
แม้ว่าแร่ทองคำบริสุทธิ์ไม่เป็นพิษหรือไม่ระคายเคืองต่อเซลร่างกาย แต่ถ้าแร่ทองคำได้ถูกเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการทางเคมีให้อยู่ในรูปของเกลือหรือโกล์ดซอล์ท จะมีอันตรายต่อไต ต่อตับ และยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดหากได้รับเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นยังพบว่าแร่ทองคำมีผลทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองผิวหนังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลข้างเคียงดังกล่าวมักพบในผู้หญิง จนได้รับการโหวตให้เป็นสารก่อภูมิแพ้ในปี 2001 โดยสมาคมโรคผิวหนังของสหรัฐอเมริกา
เอกสารอ้างอิง