หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปวดท้องช่วงบน ปวดแน่นปวดแสบ แบบจุกๆ ไม่อยากอาหารแต่กินได้ไม่เยอะ (พยายามกิน เคี้ยวช้าๆค่ะ) นอนหลับไม่สนิทมา4 วันแล้วค่ะ นอนได้ไม่เกิน4 ชม. ตื่นตลอดตื่นเพราะปวดท้องตอนนี้กินยา Miracid Omeprazole 20mg. ก่อนอาหาร3 มื้อ กับ โบวาเยล(ยาลดกรด) หลังอาหาร1ชม. ตอนนี้อาการยังไม่ดีขึ้นเลยค่ะ ตอนนี้ปวดเกือบตลอดเวลาทั้งวัน ทำให้เดินไม่สะดวกต้องเดินตัวง้อๆ เเล้วเพลียเพราะนอนไม่พอค่ะ ควรกินยาตัวไหนหรือมีวืธีแนะนำมั้ยค่ะ

ถามโดย นัดชา เผยแพร่ตั้งแต่ 22/02/2023-08:45:46 -- 9,770 views
 

คำตอบ

จากอาการปวดท้องช่วงบน ปวดแสบแบบจุกๆ รู้สึกไม่อยากอาหารเนื่องจากอิ่มเร็ว เข้ากันได้กับอาการอาหารไม่ย่อย ซึ่งจากแนวทางการรักษาจะแนะนำให้ใช้ยายับยั้งการหลั่งกรด [1] โดยทั่วไปแล้วการใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะ omeprazole จะแนะนำให้กินก่อนอาหารเช้า 30 นาทีเพียงวันละ 1 ครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วันจึงจะเริ่มเห็นผลการรักษาของยา [2] และหากรับประทานมากเกินที่แนะนำอาจส่งผลให้การหลั่งกรดผิดปกติได้ ทั้งนี้หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินอาหารนั้นยังมีอยู่ เช่น การรับประทานยาแก้ปวดบางชนิด รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ดื่มกาแฟขณะท้องว่าง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือ การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจจำเป็นที่จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ดังนั้นในกรณีนี้จึงแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการที่เป็นอยู่เพิ่มเติมและรับการรักษาที่เหมาะสม

Reference:
1. แนวทางเวชปฏิบัติในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยดิสเปปเซีย (Dyspepsia) และผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร (helicobactor pylori) ในประเทศไทย. กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. 2553.(1);1-30.
2. Mohamed Imran Lakhi. How long does Omeprazole take to work?. [Internet]. 2022. [cited 2023 Feb 27]. Available from: https://www.prescriptiondoctor.com/heartburn/omeprazole/how-long-does-omeprazole-take-to-work

Keywords:
อาหารไม่ย่อย, omeprazole, ยาลดกรด, ปวดท้อง





ทางเดินอาหาร

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้