หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบข้อมูลยา 1. 0.9% nss 2.ceftriazone 3. anithromycin 4. claforam .

ถามโดย นักศึกษา เผยแพร่ตั้งแต่ 25/04/2006-20:11:40 -- 31,884 views
 

คำตอบ

0.9% NSS ใช้ในกรณีที่ร่างกายมีการสูญเสียน้ำ หรือร่างกายขาดโซเดียมและคลอไรค์ และใช้เป็นสารละลายเพื่อฉีดเข้าร่างกายทั้งแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง อาการข้างเคียง คือ มีโซเดียมในเลือดมากเกินไป หรือมีการแพ้ในบริเวณที่ให้ยาได้ azithromycin เป็นยาต้านแบคทีเรียในกลุ่ม macrolides ในรักษาอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ, ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน, ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ รวมทั้งรักษาและป้องกันการติดเชื้อ Mycobacterium avium complex ในผู้ป่วยเอดส์ ขนาดยาโดยทั่วไปในผู้ใหญ่ คือ 500 มิลลิกรัมในวันแรก และวันละ 250 มิลลิกรัม เป็นเวลา 4 วัน ในเด็ก 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมในวันแรก และวันละ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมอีก 4 วัน แต่ไม่ใช้ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ควรรับประทานยานี้ขณะท้องว่าง และไม่ควรรับประทานร่วมกับยาลดกรด อาการข้างเคียง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว ceftriaxone เป็นยาต้านแบคทีเรียในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่ 3 ในรักษาอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนล่าง, ทางเดินปัสสาวะ, โรคหนองใน, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมทั้งป้องกันการติดเชื้อระหว่างการผ่าตัด และการติดเชื้อชนิดต่างๆ ที่ไวต่อยานี้ในเด็ก ขนาดยาโดยทั่วไปในผู้ใหญ่คือวันละ 1-2 กรัม สำหรับทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ให้วันละ 20-80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ระยะเวลาการรักษาขึ้นกับชนิดของเชื้อ ควรจะให้ยาติดต่อไปอีกอย่างน้อย 2-3 วัน หลังจากไม่มีอาการหรือไม่พบเชื้อแล้ว claforan (cefotaxime)เป็นยาต้านแบคทีเรียในกลุ่ม cephalosporin รุ่นที่ 3 ในรักษาอาการติดเชื้อได้เช่นเดียวกับ ceftriaxone ขนาดยาโดยทั่วไปในผู้ใหญ่คือวันละ 1 กรัม ทุก 6-12 ชั่วโมง สำหรับทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ให้วันละ 50-150 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 6-12 ชั่วโมง สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรืออายุต่ำกว่า 1 สัปดาห์ ให้วันละ 25-50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง อาการข้างเคียงของยากลุ่ม cephalosporin เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ มึนงง เหนื่อยล้า อาจมีเอนไซม์ในตับเพิ่มขึ้น ควรใช้ยานี้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคทางเดินอาหารหรือมีการทำงานของตับผิดปกติ รวมทั้งไม่ควรใช้ในหญิงมีครรภ์และหญิงในนมบุตร

Reference:
-

Keywords:
-





ภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้