หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

glucosamine sulfate เป็นสารประเภทใด มีความสำคัญ/ จำเป็นที่จะต้องรับประทานหรือไม่

ถามโดย แสงดาว เผยแพร่ตั้งแต่ 10/11/2004-14:15:38 -- 3,052 views
 

คำตอบ

glucosamine เป็นสารที่ร่างกายเราสามารถสร้างเองได้ สารนี้ร่างกายนำมาใช้ในการสร้าง proteoglycan ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน เมื่ออายุมากขึ้น กระดูกทีโอกาสถูกทำลายมากขึ้น เช่น รับน้ำหนักมาก โดยเฉพาะที่กระดูกอ่อนบริเวณข้อที่รับน้ำหนัก กระบวนการสร้างกระดูกมักจะลดลง แต่แกระบวนการทำลายกระดูกเพิ่มขึ้น มีผลทำให้เกิดอาการปวดข้อกระดูก หรือข้อเสื่อมได้ glucosamine ที่รับประทานเสริมเช้าไปในร่างกาย ถูกทำให้อยู่ในรูปที่คงตัวมากขึ้น คือเป็น glucosamine sulfate ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี สามารถถูกดูดซึมทางลำไส้ได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด เนื่องจากเป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงทำให้ glucosamine sulfate สามารถซึมผ่านผนังหลอดเลือด ผ่านน้ำไขข้อ และเข้าสู่กระดูกอ่อนได้ง่าย ซึ่ง glucosamine sulfate ที่ให้จะถูกนำไปใช้ในการสังเคราะห์สารที่ใช้ในการสร้างกระดูกอ่อนต่อไป glucosamine มีผลบรรเทาปวดในโรคข้อเสื่อมได้พอๆกับ NSAIDs แต่ต้องใช้เป็นเวลานานอย่างน้อย 2 สัปดาห์จึงจะเห็นผล ข้อดีกว่า คือ หลังหยุดยา NSAIDs อาจจะกลับมาเป็นอีก แต่หลังหยุด glucosamine sulfate ฤทธิ์ยาจะคงอยู่ต่อไปได้นาน 2 เดือน การรับประทาน glucosamine sulfate เกิดอาการข้างเคียงน้อย อาจมีอาการคลื่นไส้และท้องเสียได้บ้าง ขนาดปกติที่ใช้ คือ รับประทานวันละ 1500 มิลลิกรัม มีข้อมูลศึกษาทางคลินิก แสดงให้เห็นว่า การรับประทาน glucosamine sulfate ติดต่อกันนาน 3 ปี จะช่วยให้กระดูกอ่อนที่ถูกทำลายมีการซ่อมแซมให้ดีขึ้น (ดรรชนีที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของยาคือ mean joint space width และ WOMAC algo-functional index)

Reference:
-

Keywords:
-





กล้ามเนื้อและข้อต่อ

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้