หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความเสี่ยงของการเกิดตาขาวอักเสบ(Scleritis) และม่านตาอักเสบ (Uveitis) จากการใช้ยากลุ่ม Bisphosphonate

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน เมษายน ปี 2555 -- อ่านแล้ว 4,989 ครั้ง
 
จากการศึกษาทางระบาดวิทยา โดย Etminan และคณะ ซึ่งได้ติดตามข้อมูลผู้ป่วยโรคตา ในเขต British Columbia ระหว่างมกราคม ปี 2000ถึงธันวาคมปี 2007 จนกว่าจะเกิดตาขาวอักเสบ(scleritis) ม่านตาอักเสบ (uveitis) มีการเสียชีวิต สิ้นสุดการคุ้มครองประกันสุขภาพ หรือ สิ้นสุดระยะเวลาในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม Bisphosphonate เป็นครั้งแรกมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 10,827 ราย มีผู้ที่เกิดม่านตาอักเสบจำนวน 29ราย จาก10,000รายต่อปี และ ตาขาวอักเสบ 63 ราย จาก10,000รายต่อปี ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ยา Bisphosphonate จำนวน 923,320 ราย พบม่านตาอักเสบเพียง 20 ราย จาก10,000รายต่อปี และ ตาขาวอักเสบ 36 ราย จาก10,000รายต่อปี ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk: RR)ของการเกิดม่านตาอักเสบในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม Bisphosphonate เป็นครั้งแรก คือ 1.45 เท่า (95% confidence interval [CI], 1.25 - 1.68)และ การเกิดเยื่อหุ้มลูกตาชั้นนอกอักเสบ คือ1.51 เท่า (95% CI, 1.34 - 1.68) โดยคาดว่ากลไกของการเกิดน่าจะมาจากยานี้ กระตุ้นการปล่อยสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ หากไม่รักษาภาวะม่านตาอักเสบ อาจจะนำไปสู่การเกิดต้อกระจกต้อหิน จอตาบวม และเยื่อตาขาวทะลุได้ ดังนั้น แพทย์ควรแจ้งให้ผู้ป่วยสังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะตาขาวอักเสบ และม่านตาอักเสบ เพื่อรักษาได้ทันท่วงทีและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้