หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Plasma natriuretic peptide สูงสี่ยงต่อ cardiovascular disease

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2547 -- อ่านแล้ว 8,192 ครั้ง
 
ที่ระดับ natriuretic peptide ในเลือดในช่วง 80 ถึง 100 pg/mL สำหรับการวินิจฉัยโรคหัวใจวาย (heart failure) มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและการเกิด cardiovascular event





natriuretic peptide เป็นสารที่หลั่งจาก cardiomyocyte มีบทบาทในการควบคุมการตอบสนองของหัวใจ การศึกษาในปัจจุบันพบว่า atrial natriuretic peptide และ B-type natriuretic peptide มีประโยชน์สำหรับในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้แก่ heart failure, left ventricular dysfunction รวมทั้งการพยากรณ์ผู้ป่วยภายหลังจากที่เป็น acute coronary syndromes และ heart failure ผู้ที่มีระดับ natriuretic peptide สูงในเลือดอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิด cardiovascular event ได้





Thomas J Wang และคณะได้ทำการศึกษาแบบ cohort study ในผู้ที่ไม่เป็น heart failure 3,346 ราย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระดับ B-type natriuretic peptide (BNP), N-terminal pro-atrial natriuretic peptide (N-ANP) ในเลือดและความเสี่ยงในการเสียชีวิตและการเกิด cardiovascular event





ในช่วงระหว่างการติดตามการศึกษาเฉลี่ย 5.2 ปี พบว่ามีผู้เสียชีวิต 119 รายและผู้มี cardiovascular event ครั้งแรก 79 ราย ระดับ BNP ในเลือดที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงของ standard deviation สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เกี่ยวกับการเสียชีวิต, ร้อยละ 28 เกี่ยวกับการเกิด first cardiovascular event , ร้อยละ 77 เกี่ยวกับการเกิด heart failure , ร้อยละ 66 เกี่ยวกับการเกิด atrial fibrillation และร้อยละ 53 เกี่ยวกับการเกิด stroke หรือ transient ischemic attack ภายหลังการปรับ cardiovascular risk แล้วตามลำดับ แต่ระดับ peptide ดังกล่าวไม่สัมพันธ์กับการเกิด coronary heart disease





ที่ระดับ BNP ในเลือดที่มากกว่า percentile ที่ 80 ของกลุ่มการศึกษานี้ (20.0 pg/mL ในชายและ 23.3 pg/mL ในหญิง) พบว่าความสัมพันธ์กับความเสี่ยง (multivariable-adjusted hazard ratio) ในการเสียชีวิต 1.62 เท่า, การเกิด first cardiovascular event 1.76 เท่า,การเกิด atrial fibrillation 1.9 เท่า, การเกิด stroke หรือ transient ischemic attack 1.99 เท่าและเสี่ยงมากที่สุดคือการเกิด heart failure 3.07 เท่า ส่วน N-ANP ให้ผลคล้ายกันกับ BNP

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้