หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Pharmacist intervention ระดับ primary care ใน depression

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มีนาคม ปี 2547 -- อ่านแล้ว 3,200 ครั้ง
 
การให้คำปรึกษาและการดูแลโดยเภสัชกร (pharmacist intervention) แก่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (depression) ในระดับปฐมภูมิ (primary care) ให้ผลไม่ต่างกับการดูแลทั่วไปเกี่ยวกับความร่วมมือในการรักษา (adherence) และอาการของผู้ป่วย





Kam L Capoccia และคณะได้ทำการศึกษาการดูแลผู้ป่วย depression ในระดับ primary care 27 ราย ซึ่งได้รับยา anti-depressants ร่วมด้วยมาสุ่มให้การดูแลแบบ enhanced care (EC) และ usual care (UC) โดยในกลุ่ม EC จะได้รับการดูแลจากเภสัชกรเกี่ยวกับการให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย (patient education), การใช้ยา anti-depressants , ความร่วมมือในการรักษา (adherence), การดูแลการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และการป้องกันการเป็นโรคซ้ำ ส่วนกลุ่ม UC ได้รับการดูแลทั่วไปเป็นกลุ่มควบคุม





ในตอนเริ่มการรักษามีผู้ป่วยเป็น major depression มากกว่าในกลุ่ม EC เมื่อเทียบกับกลุ่ม UC (P=0.04) แต่หลังจากปรับค่าสำหรับความแตกต่างดังกล่าวแล้วพบว่าทั้งสองกลุ่มมีคะแนนจากการประเมินอาการซึมเศร้าโดยเฉลี่ยดีขึ้นเมื่อเทียบตอนเริ่มการรักษา เช่นเดียวกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยในดือนที่สามของการรักษาตลอดไปจนสิ้นสุดการศึกษา นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างในอาการซึมเศร้า, คุณภาพชีวิต, ความร่วมมือในการรักษา รวมทั้งการมาพบแพทย์ตามนัดและความพึงพอใจของผู้ป่วยระหว่างทั้งกลุ่ม EC และ UC

 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้