หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Escitalopam สำหรับป้องกัน Poststroke depression

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2 เดือน มิถุนายน ปี 2551 -- อ่านแล้ว 1,898 ครั้ง
 
Poststroke depression พบมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เคยมีโรคหลอดเลือดสมอง มีหลายการศึกษาที่พบว่า Poststroke depression มีผลต่อการฟื้นฟูสภาพการทำงานของร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวันและยังเพิ่มอัตราการตายของผู้ป่วย การศึกษานี้เป็นแบบ multisite randomized control trials โดยแบ่งผู้ป่วย 176 รายที่เกิด acute stroke ภายใน 3 เดือน ออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้ escitalopam, ยาหลอก และ problem-solving therapy โดยที่ outcome ของการศึกษา คือ การเกิด Poststroke depression ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้ยาหลอกเกิดอาการซึมเศร้ามากกว่ากลุ่มที่ได้ escitalopam โดยมี hazard ratio [HR] เท่ากับ 4.5; 95% confidence interval [CI] เท่ากับ 2.4-8.2; P < .001 และมากกว่ากลุ่มที่ได้ problem-solving therapy โดยมี hazard ratio [HR] เท่ากับ 2.2; 95% CI เท่ากับ 1.4-3.5; P < .001 และมีผู้ป่วยจำนวน 27 รายที่ยังไม่ได้เริ่มการรักษาโดยผู้ป่วยบางส่วนพบว่ามีอาการของ depression เกิดขึ้นก่อน ดังนั้นเมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ intention-to-treat จึงพบว่ากลุ่มที่ได้ escitalopam มี outcome ที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกโดยมี HR เท่ากับ 2.2; 95% CI เท่ากับ 1.2-3.9; P=.007 ในขณะที่ กลุ่มที่ได้ problem-solving therapy ไม่ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่าการใช้ escitalopam หรือ problem-solving therapy มีอุบัติการณ์การเกิดโรคซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระยะเวลา 12 เดือนของการรักษา แต่การใช้ problem-solving therapyไม่ได้ดีกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบ intention-to-treat
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้