หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Vedolizumab...การฉีดใต้ผิวหนังแทนหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน เมษายน ปี 2567 -- อ่านแล้ว 1,456 ครั้ง
 
Vedolizumab เป็น humanized monoclonal antibody ที่ยับยั้งการจับระหว่างโปรตีน alpha-4-beta-7 (α4β7) integrin บนผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด memory T- cell lymphocytes และทำให้เม็ดเลือดขาวไม่สามารถจับกับ mucosal addressin cell adhesion molecule-1 (MAdCAM-1) บนผิวของเยื่อบุ หลอดเลือด ทำให้ลดการเคลื่อนตัวของเม็ดเลือดขาวไปยังทางเดินอาหาร ลดการเกิดภาวะอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ของลำไส้ ดังนั้น vedolizumab จึงมีข้อบ่งใช้ในโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease, IBD) ได้แก่ Crohn’s disease (CD) และ ulcerative colitis (UC) ระดับปานกลางถึงรุนแรง[1] โดย ทั่วไปการใช้ vedolizumab จะบริหารยาผ่านหลอดเลือดดำ (intravenous, IV) ต่อมาข้อมูลจาก VISIBLE-1[2] พบว่าการบริหาร vedolizumab โดยการฉีดใต้ผิวหนัง (subcutaneous, SC) 108 mg ทุก 2 สัปดาห์ มีค่า ชีวประสิทธิผล (bioavailability) ใกล้เคียงกับการให้ IV vedolizumab 300 mg ทุก 8 สัปดาห์ อีกทั้งพบว่า ระดับยาในเลือดสัมพันธ์กับผลการรักษาที่พึงพอใจ[4,5] โดยการบริหารผ่านยาผ่าน SC ผู้ป่วยสามารถทำได้เอง จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย เช่น การเดินทางไปโรงพยาบาล ค่าอุปกรณ์การบริหารยา การขาดรายได้จากลางาน มาโรงพยาบาล เป็นต้น ดังนั้นจึงน่าสนใจที่จะนำ SC vedolizumab มาใช้รักษาในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคสงบ (maintenance treatment) ทั้งนี้การศึกษาก่อนหน้า 2 การศึกษา (VISIBLE-1 และ VISIBLE-2)[2,3] เปลี่ยนวิถี บริหารยาในผู้ป่วยโรค UC และ CD ภายหลังได้ขนาดเริ่มต้นของ IV vedolizumab 300 mg ในสัปดาห์ที่ 0 และ 2 และเข้าสู่ช่วงระยะอาการสงบของโรค (clinical remission) ในสัปดาห์ที่ 6 เป็น SC vedolizumab 108 mg ทุก 2 สัปดาห์ พบว่ามีความใกล้เคียงกันทั้งด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวยังขาดประชากรที่ได้รับยา IV vedolizumab นานกว่า 2 สัปดาห์

ในเดือนกันยายน 2022 มีการตีพิมพ์การศึกษาชนิด observational cohort ในประเทศเนเธอร์แลนด์[6] ศึกษาในผู้ป่วย IBD ที่กำลังได้รับ IV vedolizumab 300 mg ทุก 8 สัปดาห์ นานตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป โดยเปลี่ยนวิถีการบริหารยาเป็น SC vedolizumab 108 mg ทุก 2 สัปดาห์ พบการหยุดใช้ยา (drug discontinuation) ร้อยละ 13.4 หลังใช้ยาไป 18 สัปดาห์ และร้อยละ 9.4 หลังใช้ยาไป 6 สัปดาห์ ในผู้ป่วย UC และ CD ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุเกิดจากอาการไม่พึงประสงค์ ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและกลัวเข็ม และภายหลังเปลี่ยนวิถีการให้ยาทั้งสองกลุ่ม ผู้ป่วยมีระยะอาการของสงบโรค (clinical remission) และสารบ่งชี้การอักเสบ (biochemical remission) คงที่ ระดับ vedolizumab ในเลือดเพิ่มขึ้นจาก 19 μg/ml เป็น 31 μg/ml ภายหลังเปลี่ยนวิถีบริหารยานาน 12 สัปดาห์ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อย เช่น ปวดศีรษะ เกิดผื่นแดงคันบริเวณที่ฉีดยา การศึกษานี้เป็นข้อมูลเริ่มต้นที่น่าจะนำไปปรับใช้สำหรับการฉีด vedolizumab ใต้ผิวหนังในทางปฏิบัติต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. Wyant T, Fedyk E, Abhyankar B. An Overview of the Mechanism of Action of the Monoclonal Antibody Vedolizumab. J Crohns Colitis. 2016; 10(12):1437-1444.

2. Sandborn WJ, Baert F, Danese S, Krznarić Ž, Kobayashi T, Yao X, et al. Efficacy and safety of vedolizumab subcutaneous formulation in a randomized trial of patients with ulcerative colitis. Gastroenterol. 2020; 158:562-572.e12.

3. Vermeire S, D’Haens G, Baert F, Danese S, Kobayashi T, Loftus EV, et al. Efficacy and safety of subcutaneous vedolizumab in patients with moderately to severely active Crohn’s disease: results from the VISIBLE 2 randomised trial. J Crohns Colitis. 2022; 16:27-38.

4. Dreesen E, Verstockt B, Bian S, et al. Evidence to Support Monitoring of Vedolizumab Trough Concentrations in Patients with Inflammatory Bowel Diseases. Clin Gastroenterol Hepatol. 2018; 16(12):1937-1946.e8.

5. Pouillon L, Rousseau H, Busby-Venner H, et al. Vedolizumab Trough Levels and Histological Healing During Maintenance Therapy in Ulcerative Colitis. J Crohns Colitis. 2019; 13(8):970-975.

6. Volkers A, Straatmijer T, Duijvestein M, et al. Real-world experience of switching from intravenous to subcutaneous vedolizumab maintenance treatment for inflammatory bowel diseases. Aliment Pharmacol Ther. 2022; 56(6):1044-1054.


คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
vedolizumab intravenous to subcutaneous route of administration
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.4 ยาอันตรายควบคุม (Controlled dangerous drugs)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้