หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Warfarin ทำให้เกิด skin necrosis

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน มกราคม ปี 2549 -- อ่านแล้ว 6,188 ครั้ง
 
ถึงแม้ว่าการใช้ warfarin จะทำให้เกิด skin necrosis ได้น้อยมาก (0.01-0.1%) แต่ก็มีข้อมูลยืนยันว่าทำให้เกิดได้ จากข้อมูลต่างๆ ที่มีการตีพิมพ์พบว่า skin necrosis ที่เกิดจากการใช้ warfarin จะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอัตราการเกิดสูงถึง 9 : 1 และมักเกิดหลังจากใช้ warfarin นาน 1-10 วัน อย่างไรก็ตามบางข้อมูลกล่าวว่า อาจเกิดหลังจากได้รับ warfarin ไปแล้วนานถึง 15 ปีก็ได้ และบริเวณที่เกิด necrosis ได้บ่อย คือ บริเวณที่มีชั้นไขมันหนา เช่น แก้มก้น โคนขา และเต้านม ส่วนบริเวณอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น น่อง ลำตัว เป็นต้น

The Adverse Drug Reactions Advisory Committee (ADRAC) ของประเทศออสเตรเลียได้รายงานการเกิด skin necrosis จากการใช้ warfarin 9 ราย และอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิต 3 ราย ซึ่งพบว่าเกิดอาการหลังจากได้รับ warfarin ภายใน 7 วัน จำนวน 4 ราย และอีก 3 รายพบหลังจากได้รับ warfarin ไปแล้ว 3-8 สัปดาห์ หากผู้ป่วยได้รับ warfarin แล้วมีอาการชาที่บริเวณอวัยวะต่างๆ ผิวหนังร้อนแดง รวมทั้งปวดบริเวณที่ฉีดทันที และมีอาการนานกว่า 24 ชั่วโมง หรือพบมีเลือดออกใต้ผิวหนัง ควรหยุดให้ warfarin และเปลี่ยนไปใช้ heparin แทน เพราะอาการดังกล่าวอาจทำให้เกิด skin necrosis ได้ อาการที่เกิดอาจจะรุนแรงและควรได้รับการรักษาแผล ตัดเอาเนื้อตายออก หรือเปลี่ยนถ่ายผิวหนัง

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด skin necrosis มีคำแนะนำให้เริ่มใช้ warfarin ในขนาดต่ำๆ วันละ 1-2 มิลลิกรัมก่อน และค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นทีละน้อย จนได้ผลการรักษาตามต้องการ นอกจากนี้อาจให้ heparin หรือ anti-coagulation ตัวอื่นร่วมด้วยก็ได้

 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.2 เกลือแร่สำหรับท้องเสีย ORS (Oral Rehydration Salts)

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้