หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาที่อาจทำให้ลูกในท้องพิการ...ข้อควรคำนึง/ข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยา

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3 เดือน มีนาคม ปี 2562 -- อ่านแล้ว 4,863 ครั้ง
 

มียาหลายชนิดที่มีศักยภาพทำให้ลูกในท้องพิการ (teratogenic potential) เช่น ยาต้านไทรอยด์ (carbimazole, methimazole), dolutegravir, valproate, mycophenolate mofetil (รวมถึง mycophenolic acid), isotretinoin, leflunomide, methotrexate, phenytoin, thalidomide จึงมีข้อควรคำนึงและข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาดังกล่าวไว้ดังข้างล่างนี้ ซึ่งข้อมูลบางอย่างเป็นสาระสำคัญที่ Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA) ของสหราชอาณาจักรจะพิจารณานำไปใช้ในการวางแนวทางการใช้ยาที่มีศักยภาพทำให้ลูกในท้องพิการในระยะอันใกล้นี้

 ความเสี่ยงของยาที่จะทำอันตรายต่อทารกในครรภ์เกิดได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรกหรือช่วงเริ่มตั้งครรภ์จนถึงอายุครรภ์ราว 12 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของตัวอ่อนโดยมีการสร้างอวัยวะ ทั้งอวัยวะภายในและอวัยวะภายนอก จึงเสี่ยงต่อการทำให้ทารกพิการรุนแรงได้ (ดูรูป)

 ให้ข้อมูลกับสตรีที่จะใช้ยา เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงของยาที่อาจทำให้ลูกในท้องพิการ

 ไม่สั่งใช้ยาให้กับสตรีที่ไม่อาจทราบได้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ต้องผ่านการทดสอบว่าไม่ได้ตั้งครรภ์

 แนะนำสตรีให้หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในช่วงที่ใช้ยา โดยแนะนำให้ใช้วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง

(ดู ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการทดสอบการตั้งครรภ์และการเลือกวิธีคุมกำเนิด ในข่าวยาเรื่อง “ยาที่อาจทำให้ลูกในท้องพิการ...จะเลือกการคุมกำเนิดวิธีใด?” ได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=1501)

 ผู้สั่งใช้ยาควรคำนึงถึงระยะเวลาที่สั่งใช้ยาในแต่ละคราวโดยให้สอดคล้องกับวิธีคุมกำเนิด หากผู้ป่วยใช้วิธีการคุมกำเนิดชนิดที่ออกฤทธิ์สั้น (ซึ่งต้องทดสอบการตั้งครรภ์บ่อย เพราะต้องประเมินประสิทธิภาพของยาทุกครั้งก่อนเริ่มดำเนินการคุมกำเนิดต่อเนื่องในครั้งต่อไป) ควรสั่งใช้ยาในแต่ละคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆ

 กรณีที่ไม่สามารถตัดประเด็นเรื่องการตั้งครรภ์ออกไปได้ ในการตัดสินใจที่จะเริ่มต้นใช้หรือการใช้ต่อเนื่องไปจะขึ้นกับสถานการณ์ของผู้ป่วยแต่ละราย ได้แก่ ความจำเป็นอย่างเร่งด่วนและทางเลือกอื่นในการรักษา หากรอได้หรือมีการรักษาทางเลือกอื่นให้ชะลอการใช้ยาที่มีศักยภาพทำให้ลูกในท้องพิการนั้นออกไปก่อน รอจนกว่าจะมั่นใจว่าไม่ตั้งครรภ์โดยผ่านการทดสอบการตั้งครรภ์ซ้ำอีกครั้ง

 ในเอกสารที่เป็นข้อมูลผลิตภัณฑ์ยา จะมีข้อแนะนำ/คำเตือน ในการใช้ยาแจ้งไว้ ซึ่งยาบางอย่างอาจมีวิธีปฏิบัติระบุเป็นพิเศษออกไป

อ้างอิงจาก:

(1) Medicines with teratogenic potential: what is effective contraception and how often is pregnancy testing needed? Drug Safety Update volume 12, issue 8: March 2019:3; (2) Hill MA. Embryology abnormal development - teratogens. https://embryology.med.unsw.edu.au/embryology/index.php/Abnormal_Development_-_Teratogens]; (3) RxList - The Internet Drug Index for prescription drug information. https://www.rxlist.com/vabomere-drug.htm.

คำค้นที่เกี่ยวข้อง:
ลูกในท้องพิการ teratogenic potential ยาต้านไทรอยด์ carbimazole methimazole dolutegravir valproate mycophenolate mofetil mycophenolic acid isotretinoin leflunomide methotrexate phenytoin thalidomide Medicines and Healthcare products Regu
 
คลิปความรู้เรื่องยา

EP.3 ยาชุด Non-prescribed polypharmacy

ดูคลิปทั้งหมด

ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้