หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือด

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน ปี 2548 -- อ่านแล้ว 2,252 ครั้ง
 
ถึงแม้ว่าจะกำหนดให้โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการตายเนื่องจาก pulmonary embolism มาตั้งแต่ปี 1927 แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าโรคอ้วนนี้เสี่ยงต่อการเกิด pulmonary embolism (ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด) หรือ deep venous thrombosis (เลือดคั่งในหลอดเลือดดำส่วนลึก) ในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก the National Hospital Discharge Survey (NHDS) ในระหว่างปี 1979-1999 ของผู้ป่วยอ้วนที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว เพื่อดูการเกิด pulmonary embolism และ deep venous thrombosis พบว่าในผู้ป่วยอ้วนเกิด pulmonary embolism ร้อยละ 0.76 และเกิด deep venous thrombosis ร้อยละ 2.02 ค่า relative risk (RR) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยอ้วนกับผู้ป่วยไม่อ้วนที่เกิด deep venous thrombosis และ pulmonary embolism เท่ากับ 2.50 และ 2.21 ตามลำดับ และในผู้ป่วยหญิงที่อ้วนจะเสี่ยงต่อการเกิด deep venous thrombosis มากกว่าผู้ป่วยชายที่อ้วน ( RR เท่ากับ 2.75 และ 2.02 ตามลำดับ) และผู้ป่วยอ้วนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี มี RR ต่อการเกิด pulmonary embolism และ deep venous thrombosis เท่ากับ 5.19 และ 5.20 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบผู้ป่วยหญิงที่อ้วนกับไม่อ้วนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี พบว่า RR ต่อการเกิด deep venous thrombosis เท่ากับ 6.10 ในขณะที่ผู้ป่วยชายอ้วนเมื่อเทียบกับไม่อ้วนในช่วงอายุเดียวกัน จะมี RR ต่อการเกิด deep venous thrombosis เท่ากับ 3.71 จากข้อมูลที่แสดงมาเห็นได้ว่า โรคอ้วนเป็นปัจจัยสี่ยงต่อการเกิด pulmonary embolism และ deep venous thrombosis ทั้งในหญิงและชาย แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในหญิง รวมทั้งในหญิงและชายที่อายุน้อยกว่า 40 ปีอีกด้วย
 
ข่าวยาล่าสุด
    ดูข่าวยาทั้งหมด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้